หน้าแรก
- เกร็ดประสบการณ์
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง |
- สายด่วนผู้บริโภคกับ
อย.
โทร. 1556
ครั้งละ 3 บาท
ทั่วประเทศ
ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง |
- เลือกยาลูกกลอน
-
เลือกยาแผนโบราณ
- เลือกยาทั่วไป
- การใช้ยา
- เก็บรักษายา
อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้ |
- ยาแก้แพ้
|
ท่านควรทำอย่างไรเมื่อเกิดการแพ้ยา
-
หยุดใช้ยาที่แพ้
แล้วปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
-
อาการแพ้อ่อนๆ
สามารถใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานหรือชนิดฉีด
เช่น คลอร์เฟนิรามิน
-
อาการปานกลางหรือรุนแรง
ควรรีบพบแพทย์หรือรีบมาโรงพยาบาลทันที
ข้อมูลประกอบ
- อาการแสดงออกเมื่อท่านแพ้ยา
- อาการแพ้อ่อนๆ
อาจมีเพียงลมพิษ ผื่นคัน
หรือมีผื่นแดง จุดแดง
หรือตุ่มใสเล็กๆขี้นทั่วตัว
หรือหน้าบวม, ตาบวม,
ริมฝีปากบวม
- อาการแพ้ขนาดปานกลาง
อาจมีอาการใจสั่นแน่นหน้าอก คลื่นไส้
อาเจียน
หรือหายใจขัดคล้ายหีด
- อาการแพ้รุนแรง
มีอาการเป็นลม
ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว
ความดันต่ำ
และหยุดหายใจ
มักเกิดหลังจากฉีดยาเพนนิซิลิน
หรือเซรุ่ม
หรืออาจพบเป็นลักษณะพุพอง
หนังเปื่อยลอกทั้งตัว
คล้ายถูกไฟลวก
ปากเปื่อย ตาอักเสบ
ท่อปัสสาวะอักเสบ มีไข้
- บันทึกชื่อยาที่แพ้
เก็บไว้เป็นประวัติการแพ้ยา
ติดตัวอยู่เสมอ
- แจ้งแพทย์,
เภสัชกร
ทุกครั้งถีงประวัติแพ้ยา
และประวัติโรค
ภูมิแพ้
ทั้งของตนเองและคนในครอบครัว
- สังเกตอาการแพ้ยาที่อาจเกิดขึ้น
ถ้ามีอาการให้เรียบหยุดยา
แล้วกลับไปพบแพทย์ที่รักษาทันที
- อาการแพ้ยาอาจเกิดได้แม้ว่าผู้ป่วยได้รับยาชนิดนั้นมาก่อน
ดังนั้น
ยิ่งใช้ยาบ่อยครั้งขึ้นเท่าไหร่
พึงระวังการเกิดอาการแพ้มากขึ้น
เท่านั้น
กลับไปด้านบนสุด
กลับไปหน้าที่แล้ว
|
22 /03 /43
-
เอกสารเผยแพร่ (พศ.2543)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ถ.สุขุมวิท
กรุงเทพฯ
www.bumrungrad.com
หมายเหตุ
- ยาที่พบการแพ้ได้ค่อนข้างบ่อย
ได้แก่
- ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ
เช่น
ยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน,
ซัลฟา,เตตราซัยคลิน
เป็นต้น
- ยาแก้ปวด
ลดไข้ เช่น
แอสไพริน,ไดไพโรน เป็นต้น
- เซรุ่มต่างๆเช่น เซรุ่มแก้พิษงู
เป็นต้น
- น้ำเกลือ
และเลือด
|