thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

- สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.
  โทร. 1556
   ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ
 

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- เลือกยาลูกกลอน
- เลือกยาแผนโบราณ
- เลือกยาทั่วไป
- แนะนำการใช้ยา
- แพ้ยา

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

เก็บรักษายา

  1. อ่านฉลากยาให้ครบถ้วน  รวมทั้งคำแนะนำการเก็บรักษายา

  2. กรณียาทั่วไป  ที่ไม่ระบุการเก็บรักษาเป็นพิเศษ  ให้เก็บยาที่
    อุณหภูมิห้อง  บริเวณที่ไม่ร้อนและไม่มีแสงแดดส่อง  ห้ามทิ้งยา
    ไว้ในรถยนต์  และควรเก็บยาไว้ในสถานที่ที่เด็กหยิบเองไม่ได้

  3. กรณียาที่ระบุเก็บยาในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง  หมายถึง เก็บในตู้เย็น
    ช่องปกติ  ไม่ควรเก็บที่ชั้นใกล้ช่องแช่แข็ง  หรือที่ประตูตู้เย็น
    เพราะอุณหภูมิไม่เหมาะสม

  4. ยาที่บรรจุในขวดสีชา  หมายถึง  ยาที่ต้องกันแสง ไม่ควรเปลี่ยน
    ภาชนะบรรจุยา

  5. ยาที่ต้องระมัดระวังเรื่องความชื้น  ควรใส่สารกันชื้นตลอดเวลา
    และปิดภาชนะบรรจุให้แน่น

  6. ควรเก็บยาไว้ในภาชนะบรรจุเดิม  ซึ่งมีฉลากระบุชื่อยา และวันที่
    ได้รับยานั้น  จะทำให้สามารถพิจารณาระยะเวลาที่ควรเก็บยา
    ที่เหลือนั้นได้


 ข้อมูลประกอบ

  • ควรเก็บยาที่เหลื่อไว้นานเท่าใด

     1. ยาปฏิชีวนะที่ต้องผสมน้ำและเก็บในตู้เย็น
         มีอายุของยา  7 - 14 วัน  หลังจากผสมน้ำและเก็บในตู้เย็น
     2. ยาน้ำทั่วไป หลังจากเปิดขวดแล้วควรเก็บไว้ไม่เกิน 12 เดือน
         หรือตามกำหนดวันหมดอายุ  อันใดอันหนึ่งที่มาถึงก่อน
         และพิจารณาลักษณะภายนอกของยาประกอบด้วย
     3. ยาเม็ดที่ไม่ได้บรรจุใน foil ควรเก็บไว้ไม่เกิน  6 - 12 เดือน
         โดยพิจารณาลักษณะภายนอกของยาประกอบด้วย
     4. ยาเม็ดที่บรรจุ  foil  สามารถเก็บไว้ได้ถึงวันหมดอายุของยา
     5. ยาใช้ภายนอก  เช่น ครีมต่างๆ ควรเก็บไว้ไม่เกิน  6  เดือน
         หรือตามกำหนดวันหมดอายุ  อันใดอันหนึ่งที่มาถึงก่อน
         โดยพิจารณาลักษณะภายนอกของยาประกอบด้วย
     6. ยาหยอดตา, ยาป้ายตา  ที่เปิดใช้แล้ว ควรเก็บไว้ไม่เกิน  30
         วัน  หลังจากเปิดใช้

 กลับไปด้านบนสุด                                                               กลับไปหน้าที่แล้ว

 22 /03 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2543)
  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  ถ.สุขุมวิท   กรุงเทพฯ
  www.bumrungrad.com


 หมายเหตุ

- เมื่อเจ็บป่วยควรให้แพทย์รักษา
  เมื่อซื้อยาควรถามหาเภสัชกร

- เจ็บป่วยเล็กน้อย
  ใช้ยาสามัญประจำบ้าน

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้