thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- อันตรายจากสเตียรอยด์
-
ยาลูกกลอนคืออะไร
- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

- สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.
  โทร. 1556
  ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- เลือกยาแผนโบราณ
- เลือกยาทั่วไป
- การใช้ยา
- เก็บรักษายา
- แพ้ยา
 

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

- ้รานขายยาที่มีใบอนุญาต 

 

 

 

เลือกยาลูกกลอน

  1. ซื้อยาที่มีทะเบียน  โดยดูฉลากยาเป็นสำคัญ
    ทะเบียนยาแผนโบราณ  จะระบุ  "G..../...." เช่น G 185/2536
    และมีรายละเอียดอื่นๆได้แก่  ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต  วัน  เดือน  ปี ที่ผลิต
    เลขที่  หรือครั้งที่ผลิต  และปริมาณยาที่บรรจุ
  2. หีบห่ออยู่ในสภาพดี  ไม่ฉีกขาดหรือเปียกชื้น
  3. ซื้อจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น
  4. ไม่ซื้อเพราะคำโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณ หรือการอ้างถึงบุคคลที่
    ใช้แล้วได้ผล 

ข้อมูลประกอบ

  • ยาลูกกลอนเป็นยาที่ผลิตขึ้นโดยการเอาสมุนไพรหลายชนิด
    มาบดผสม  และใช้น้ำหรือน้ำผึ้งเป็นตัวประสาน   ปั้นเป็นก้อน
    กลมๆ  จัดเป็นยาแผนโบราณที่ต้องขออนุญาตผลิตหรือนำเข้า
    ต้องได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาก่อน  จึงจะนำออก
    จำหน่ายได้  และต้องจำหน่ายในร้านขายยาที่มีใบอนุญาตเท่านั้น







 

 

   กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 1 /03 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (07/พศ.2541)
  สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
  กระทรวงสาธารณสุข
  โทร. 5918472-4


ข้อควรระวัง

  • ปัจจุบันมีผู้เห็นแก่ตัวลักลอบ
    ผลิตโดยไม่ถูกกฏหมาย
    ผลิตโดยขาดสุขลักษณะที่ดี
    และยังนำเอาตัวยาแผน
    ปัจจุบันมาผสม  โดยเฉพาะ
    กลุ่มยาสเตียรอยด์     ซึ่งมี
    ความเป็นพิษสูง   ถูกจัดเป็น
    ยาควบคุมพิเศษ    นำบรรจุ
    กระปุกพลาสติค หรือใส่ซอง
    พลาสติค  ออกวางขายตาม
    แผงลอยริมทางเดินหน้าวัด
    หรือที่ชุมชน อย่างไม่
    เหมาะสม และติดฉลากหรือ
    โฆษณาว่าใช้รักษาเป็น
    ยาครอบจักรวาล

อันตรายจากสเตียรอยด์

  • สเตียรอยด์ทำให้ร่างกาย
    ขาดภูมิคุ้มกัน  ร่างกายบวม
    กระคูกผุ  กระเพาะทะลุ
    ไขมันสะสมจนหลังเป็นหนอก
    หน้ากลมเป็นพระจันทร์
 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้