thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- การเก็บรักษาซีเมนต์
- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- เลือกทรายใช้ในงานก่อสร้าง

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

เลือกใช้ปูนซีเมนต์

     การก่อสร้างอาคารบ้านเรือน  ถนนหนทาง สะพาน  หรือแม้แต่
  เขื่อนกั้นน้ำต่างๆ  หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ  ไม่ว่าจะมีขนาดเล็ก
  หรือใหญ่ล้วนแต่ต้องใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น
  ปูนซีเมนต์ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้  ก็มีอยู่มากมายหลายประเภท
  ซึ่งคุณสมบัติต่างๆ ก็แตกต่างกันออกไป
  เพื่อให้เหมาะกับงานก่อสร้างแต่ละประเภท

       ปูนซีเมนต์ที่ผลิตและนิยมใช้กันมากในประเทศไทย
  มีอยู่ประมาณ 7 ประเภท   ซึ่งแต่ละประเภท  มีคุณสมบัติ
  และลักษณะการใช้งานแตกต่างกันไปดังนี้

  1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา (Ordinary Portland Cement) เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป  
    เช่น ใช้ทำเสา  สะพาน  คานคอนกรีต  หรือผนังอาคารต่างๆ
    ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่พบเห็นก็ได้แก่  ปูนซีเมนต์ตราช้าง
    ตราพญานาคเศียรเดียว ตราเพชร(เม็ดเดียว) ตราทีพีไอ(สีแดง)

  2. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง  (Modified Portland Cement)
    เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างในบริเวณที่โดนน้ำเค็ม
    ในระดับที่ไม่มากนัก  มีความต้านทานต่อซัลเฟตได้ในระดับ
    ปานกลาง  เช่น  งานก่อสร้างสะพานเทียบเรือ
    ตอหม้อสะพาน  หรือเขื่อน
    ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่พบเห็นและใช้กันอยู่ก็ได้แก่  
    ปูนซีเมนต์ตราพญานาคเจ็ดเศียร

  3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดแข็งตัวเร็ว 
    (High-early Strength Portland Cement)
    เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความเร่งด่วน
    มีการถอดรื้ออย่างรวดเร็ว  เนื้อปูนจะมีความละเอียดเป็นพิเศษ
    ซึ่งมีผลทำให้ปูนแข็งตัวและรับแรงได้เร็ว
    ปูนประเภทนี้มักจะใช้ในงานทำเสาเข็มหรือทำพื้นสำเร็จรูป
    ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่ใช้กันอยู่ก็ได้แก่ ปูนซีเมนต์ตราเอราวัณ  
    ตราพญานาคเศียรเดียวสีแดง  ตราทีพีไอ (สีดำ)

  4. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดเกิดความร้อนต่ำ
    (Sulfate Portland Cement)
    ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก  เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ
    ใช้งานก่อสร้างเฉพาะด้าน เช่น  การทำเขื่อนกันน้ำ  ซึ่งจำเป็น
    ต้องใช้ปูนที่สามารถควบตุมความร้อนภายในคอนกรีตได้ในขณะ
    ที่ปูนซีเมนต์ทำปฏิกิริยากับน้ำในช่วงขณะที่ปูนกำลังแข็งตัว
    หากความร้อนมีมากเกินไป  อาจจะทำผนังหรือชิ้นส่วนนั้นๆ
    ของตัวเขื่อน  เกิดการแตกร้าวเสียหายได้

  5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดต้านทานซัลเฟตได้สูง 
    เป็นปูนซีเมนต์ที่เหมาะจะใช้ในงานก่อสร้างในเขตหรือบริเวณ
    ที่ซัลเฟตสูง มักจะใช้สร้างพวกทำเสาตอมอ  หรือทำพื้น
    ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้กับชายฝั่งทะเล  ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่ใช้กัน
    อยู่ก็ได้แก่  ปูนซีเมนต์ตราทีพีไอ(สีฟ้า) ตราปลาฉลาม

  6. ปูนซีเมนต์ผสม 
    เป็นปูนที่เกิดจากการเอาทราย หรือหินปูนบดละเอียด  แล้วผสม
    เข้ากับปูนปอร์ตแลนด์ชนิดธรรมดา  แล้วนำมาบรรจุขาย  
    มีคุณภาพและราคาต่ำกว่าปูนชนิดที่ 1  ใช้ในงานก่อ  ฉาบ
    หรือตกแต่ง  แต่ก็สามารถที่จะใช้ในงานโครงสร้างทั่วไปได้
    เช่น การทำเสา ทำคาน ซึ่งเหมาะสำหรับงานโครงสร้างที่มีขนาด
    เล็กเท่านั้น  ปูนซีเมนต์ชนิดนี้ก็เป็นปูนที่พบเห็นและใช้กันอยู่
    ทั่วไปตามท้องตลาด

  7. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดสีขาว  
    เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้กันมากในงานตกแต่ง  งานติดตั้งสุขภัณฑ์  
    งานยาแนวรอยต่อของกระเบื้อง   งานที่ต้องการผสมสีต่างๆ
    เพื่อความสวยงาม  งานเกี่ยวกับการทำหินขัด
    ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ที่ใช้กันอยู่ก็ได้แก่  ปูนซีเมนต์ขาวตราเสือ  ตราช้างเผือก

   กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 27 /09 /43

แหล่งข้อมูล

- สถาปนิก 8 การเคหะแห่งชาติ
   กองประชาสัมพันธ์
   การเคหะแห่งชาติ

   คลองจั่น บางกะปิ กทม. 10240
   แฟกซ์  3743946


 หมายเหตุ

 การเก็บรักษาซีเมนต์

  • ซีเมนต์ที่บรรจุด้วยถุง
    กระดาษจากโรงงาน  ไม่ควร
    เก็บไว้นาน เพราะคุณภาพ
    อาจเสื่อมได้ง่าย
  • การใช้ปูนควรใช้ปูนที่ใหม่
    เสมอ  อย่าเก็บไว้นานเกิน 1
    เดือน ในหน้าฝน และ3 เดือน
    ในหน้าร้อน
  • อย่าวางถุงซีเมนต์ไว้บนพื้นซี
    เมนต์และพื้นดิน  เพราะจะ
    ทำให้ถูกความชื้นได้ ควรวาง
    ไว้บนไม้กระดาน  และมีหลังคา
  • อย่าให้ซีเมนต์ถูกน้ำหรือ
    ความชื้นต่างๆ
  • ถ้าไม่จำเป็นอย่าวางซ้อนกัน
    มากเกินไป  เช่น มากกว่า 15
    ถุงขึ้นไป

 

 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้