thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

การใช้ปรอทวัดไข้
การเก็บรักษายา

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

- หมอนนุ่มๆ
- แปรงสีฟันขนนุ่ม
- ยาสระผม
- ถุงมือยางหรือพลาสติค
-
ถังขยะที่มีถุงพลาสติครองรับ
-
น้ำยาเช็ดพื้น
- ผ้าพลาสติคหรือผ้าหนาๆ

 


ข้อปฏิบัติ
สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส

- สวมถุงพลาสติคหรือถุงมือยาง
  ทุกครั้ง  ก่อนจับกระดาษหรือ
  ผ้าเช็ดบริเวณบริเวณที่
  เปื้อนเลือด
-
ขยะที่เปื้อนเลือด  แยกทิ้งใน
  ถังขยะที่มีถุงพลาสติครองรับ
  และนำไปเผา
-
ใช้ห้องน้ำ  ห้องส้วมร่วมกับ
  ผู้ป่วยได้  แต่ต้องทำความ
  สะอาดสม่ำเสมอ
-
ทำความสะอาดบ้านตามปกติ
 
ไม่จำเป็นต้องสวมถุงมือ
-
ถ้าพื้นเปรอะเปื้อนน้ำหลั่งต่างๆ
  ให้เช็ดบริเวณที่เปื้อน  จากนั้น
  จึงเช็ดถูด้วยน้ำยาเช็ดพื้น


การปฏิบัติเมื่อ
ผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้าน

- ผู้แต่งศพควรสวมถุงมือ
  หรือถุงพลาสติค
  และใช้ผ้าพลาสติคหรือผ้า
  หนาๆปิดคลุมด้านหน้าของ
  ร่างกายเพื่อป้องกันการสัมผัส
  กับเลือดหรือน้ำเหลืองของ
  ผู้ตาย
- ใช้ผ้าพลาสติคหรือกระดาษ
  ฟางปูโลงศพ
- นำไปประกอบพิธีกรรมทาง
  ศาสนา

 

การดูแลผู้ป่วยเอดส์

    ผู้ติดเชื้อเอดส์  คือ ผู้ที่ตรวจพบเชื้อเอดส์ในร่างกายว่า มีเลือด
    บวกเอดส์  แต่ยังแข็งแรง  สามารถทำงานได้ตามปกติ  ไม่มีอาการ
    เจ็บป่วยแต่อย่างใด

    ผู้ป่วยเอดส์  คือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการเจ็บป่วยด้วย
     โรคแทรกซ้อนต่างๆ  เช่น  ปอดบวม  โรคติดเชื้อต่างๆ 
     หรือมะเร็งบางชนิด

 


    การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มาก  พอช่วยเหลือตัวเองได้

  1. ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้  ตามความเหมาะสม

  2. ดูแลให้กินอาหารที่มีประโยชน์  และเพียงพอครบถ้วน

  3. ให้ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

  4. ดูแลให้กินยาตามเวลา

  5. กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  เท่าที่จะทำได้


    การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการมาก

  1. จัดท่านอนให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย  ดูแลเครื่องนอนให้สะอาดอยู่เสมอ
  2. ถ้าผู้ป่วยผอมมากให้ใช้หมอนนุ่มๆ  รองบริเวณปุ่มกระดูก
  3. ดูแลความสะอาดร่างกายด้วยการเช็ดตัว  ทำความสะอาดปากและฟัน  โดยใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม
    สระผมให้เป็นครั้งคราวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  4. จัดหาและกระตุ้นให้ผู้ป่วยกินอาหารให้เพียงพอ
    โดยจัดอาหารมื้อละน้อยๆ  แต่รับประทานบ่อยครั้ง
  5. ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกอุ่นใจ  โดยการบีบนวดตามร่างกาย
    ด้วยความนุ่มนวลและเต็มใจ
  6. ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
    และให้กินยาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์
  7. ให้ดูแลผู้ป่วยตามอาการ

  ข้อมูลประกอบ

    ความต้องการของผู้ติดเชื้อเอดส์

  1. ความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตเหมือนบุคคลทั่วไป
    เช่น  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  และยารักษาโรค  ผู้ติด
    เชื้อเอดส์ต้องการทำงานเพื่อนำรายได้มาจุนเจือตนเอง  และ
    ครอบครัว
  2. ความต้องการที่จะระบายความรู้สึกพูดคุย
    เพื่อบรรเทาความเครียด  ความอัดอั้นในใจกับคนที่ไว้ใจได้
  3. ความต้องการความรัก  ความอบอุ่น  ความเห็นอกเห็นใจ
    ต้องการกำลังใจจากคนรอบข้าง  และการยอมรับในสังคม
  4. ความต้องการสถานพยาบาล  รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์
    ที่มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค  เป็นที่ปรึกษาแนะนำ  ที่พึง
    ทางใจ  ในการให้ข้อมูลที่จะช่วยให้เขาดูแลตัวเองได้
  5. ความต้องการดูแลที่บ้าน  ผู้ที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล
    ทุกราย  ถ้าครอบครัวเรียนรู้วิธีการให้การพยาบาล  เมื่อเกิดอาการ
    เจ็บป่วย  ก็สามารถช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ที่บ้านได้
  6. ความต้องการการดูแลในระยะสุดท้ายของโรค  ระยะนี้ผู้ป่วยจะมี
    ร่างกายอ่อนแอ  ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  จึงจำเป็นต้อง
    ดูแลใกล้ชิด

 

  กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 24 /12 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2543)
  กองควบุคมโรคเอดส์  สำนักอนามัย
  กรุงเทพมหานคร
  โทร. 8608751-6


 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้