thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

- สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.
  โทร. 1556
  ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ
 

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- เด็กเป็นไข้
- เลือกยาลูกกลอน
- เลือกยาแผนโบราณ
- เลือกยาทั่วไป
- การใช้ยา
- เก็บรักษายา

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

- ปรอทวัดไข้ (เทอร์โมมิเตอร์)
- สบู่
- แอลกอฮอล์
- สำลี
- ผ้าสะอาด

 

 

การใช้ปรอทวัดไข้

   วิธีใช้ปรอทวัดไข้                                      

  1. ทางรักแร้
    เช็ดรักแร้ให้แห้ง  สอดปลายกระเปาะบริเวณรักแร้
    หนีบให้แน่นนาน  3 - 4  นาที  แล้วจึงอ่านอุณหภูมิ
    (อุณหภูมิปกติ  =  36.4 ºC   หรือ  =  97.4ºF)

  2. ทางปาก
    สอดปลายกระเปาะไว้บริเวณใต้ลิ้น  ปิดปากลง
    และห้ามเคี้ยวหรือกัด  เพื่อป้องกันไม่ให้ปรอทแตก
    รอนาน  2  นาที  แล้วจึงอ่านอุณหภูมิ
    (อุณหภูมิปกติ  =  37.0 ºC   หรือ  =  98.6ºF)

  3. ทางทวารหนัก          
    ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ  นำปลายกระเปาะจุ่ม  วาสลิน  หรือ  oil
    เพื่อหล่อลื่นไม่ให้เจ็บ  ค่อยๆสอดปลายกระเปาะ  ไม่ควรสอดลึก
    เกิน  1  นิ้ว  รอสัก  2 - 3  นาที  จึงนำออกมาอ่านอุณหภูมิ
    (อุณหภูมิปกติ  =  37.6 ºC   หรือ  =  99.6ºF)                      


  ข้อมูลประกอบ

  • การเตรียมพร้อมก่อนใช้ปรอทวัดไข้
    โดยการนำปรอทที่ทำความสะอาดแล้ว  จับบริเวณปลายด้าม
    ด้านบนให้แน่น โดยหันปลายกระเปาะลงด้านล่าง สะบัดอย่างแรง
    ให้สีปรอทลงไปอยู่ต่ำกว่าขีด  35.6  องศาเซลเซียส  (96  องศา
    ฟาเรนไฮต์)  และไม่ควรให้อาหารหรือเครื่องดื่ม  ไม่ว่าร้อนหรือ
    เย็น  ครึ่งชั่วโมงก่อนการวัดอุณหภูมิ
  • ผลวิเคราะห์ไข้วัดทางปาก
    ไข้ต่ำ                       37.3  -  38.3 ºC
    ไข้ปานกลาง             38.4  -  39.0 ºC
    ไข้สูง                        39.1  -  40.0 ºC
    ไข้สูงมาก                          >  40.0 ºC
  • วิธีการอ่านอุณหภูมิ
    ใช้มือจับปลายด้านบน  ให้
    เทอร์โมมิเตอร์อยู่แนวนอน  จนเห็น
    อุณหภูมิชัดเจน  อ่านค่าบริเวณขีดสิ้นสุดของปรอท
  • การดูแลรักษาเทอร์โมมิเตอร์
    หลังการใช้แล้ว  ควรล้างสบู่แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์  รอให้แห้ง
    แล้วบรรจุลงในกล่องเดิมเพื่อเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป

 

   กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 22 /03 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2543)
  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  ถ.สุขุมวิท   กรุงเทพฯ
  www.bumrungrad.com


 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้