หน้าแรก
- ความดันลมยาง
- ความดันลมและการขับขี่
-
การเติมลมมากเกินไป
- การเติมลมน้อยเกินไป
- ฝาวาล์วยาง
- การสลับยาง
- การอ่านข้อมูลที่แก้มยาง
- การสึกของดอกยาง
-
ขับรถอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง
-
รถขับเคลื่อนล้อหน้าและ
การสึกของยาง
- ยางหล่อดอก
- การตั้งศูนย์ล้อ
-
เกร็ดประสบการณ์
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง |
ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง |
อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้ |
- ยางรถยนต์
- อุปกรณ์วัดความดันลมยาง
หมายเหตุ
- ความดันลมยาง
ยางทุกเส้นต้องถูกเติมลมก่อน
ใช้งาน เพื่อลดแรงกระแทก
ระหว่างรถยนต์และพื้นถนน
ลมยางทุกเส้นจะอ่อนลงเมื่อใช้
งานไประยะหนึ่งจึงควรหมั่น
เช็คและเติมลมยางสม่ำเสมอ
ทุกเดือน
การเติมลมยางควรเติม
ขณะที่ยางยังเย็นอยู่
หรือวิ่งไม่เกิน 1.5-2 กม.
ตรวจเช็คลมยาง ควรใช้
เกจ์วัดลมที่มาตรฐาน
- ความดันลมและการขับขี่
การเติมลมยางที่ถูกต้องตาม
กำหนดจะทำให้ดอกยาง
ทุกส่วนสัมผัสผิว
ถนนอย่าง
สม่ำเสมอ
ช่วยรักษายางให้
ใช้ได้นานตลอดอายุ
เพิ่มความนุ่มนวลและปลอดภัย
ขณะขับขี่ และประหยัด
ค่าน้ำมันอีกด้วย
อนึ่ง
การเติมลมยางทั้ง 4 เส้น
ไม่เท่ากัน อาจส่งผลให้รถยนต์
เสียการควบคุม
เมื่อเบรกหยุด
หรือเร่งระดับความเร็ว
ความ
สมดุลของล้อรถเสีย ทำให้ยาง
สึกไม่เรียบ
- การเติมลมมากเกินไป
ทำให้หน้ายางเกาะถนนได้
ไม่เต็มที่ เกิดการกระเทือนมาก
กว่าปกติ
เนื่องจากความ
ยืดหยุ่นของยางลดลง
ทำให้
โครงสร้างยางเสียหาย
เนื่อง
จากผ้าใบตึงเครียด ยางถูกบาด
ง่าย และดอกยางตอนกลาง
สึกเร็วกว่าด้านข้างทั้งสอง
- การเติมลมน้อยเกินไป
ทำให้แก้มยางมีการยืดและหด
ตัวมากกว่าปกติ
เป็นสาเหตุของ
การเกิดความร้อนสูงมากทำให้
ยางร่อน
หรือผ้าใบหักง่าย
และดอกยางด้านข้างทั้งสอง
สึกเร็วกว่าตอนกลาง
- ฝาวาล์วยาง
ควรปิดฝาวาล์วยาง (จุ๊บลม)
ให้สนิทตลอดเวลา เพื่อป้องกัน
เศษดิน ฝุ่น
และความชื้น
ซึมเข้าไปในยาง
และป้องกัน
ลมซึมออกทางวาล์วซึ่งจะก่อ
ให้เกิดผลเสียต่ออายุการ
ใช้งานของยางได้
- การสลับยาง
การสลับยางเพื่อให้ยางทุกเส้น
มีการสึกที่เท่ากัน
โดยปกติรถ
ทุกคันควรสลับยางทุก 10,000
กิโลเมตร
หากยางเกิดการสึก
ที่ไม่สม่ำเสมอ
ควรเข้ารับการ
ตรวจเช็คศูนย์ล้อ
ความสมดุล
ของล้อ
ตลอดจนระบบช่วงล่าง
ทันที
|
การเปลี่ยนยางใหม่เปรียบเสมือนการซื้อรถใหม่
เพราะยางก็เป็น
ส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความปลอดภัย
ในการขับเคลื่อนรถยนต์
ยางเป็น
ส่วนเดียวของรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้นถนน
ไม่ว่าสภาพถนนเปียก แห้ง
ทางเรียบ หรือขรุขระ
ยางเป็นส่วนที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลากับทุก
สภาพถนน
การเลือกยางรถยนต์จึงต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม
-
เลือกขนาดยาง(section
width) และกะทะล้อ (tire's sidewall)
ให้ถูกตรงตามที่กำหนดโดยโรงงานผู้ผลิตรถยนต์
-
เลือกยางที่รหัสความเร็ว
(Speed Ratings) และน้ำหนักบรรทุก
(load carrying capacity) ที่เหมาะสมกับรถ
-
อายุยางต้องไม่เก่าเก็บ
ผลิตมาไม่นานมากเกินไป
เช่นไม่เกิน 6 เดือน
-
ถ่วงล้อทั้ง
4
ล้อทุกครั้งที่เปลี่ยนยาง
-
ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจตั้งศูนย์ล้อ
4 ล้อ ด้วย
-
ใส่เปลี่ยนยางโดยช่างผู้มีความชำนาญและความละเอียด
มีอุปกรณ์ครบ
ข้อมูลประกอบ
การอ่านข้อมูลที่แก้มยาง
ที่แก้มของยางรถยนต์จะบอกขนาดของยาง,
ผู้ผลิต, รุ่น,
อัตราสูงสุดของการเติมลม,
ความสามารถในการรับน้ำหนัก,
ความเร็วสูงสุดที่สามารถรับ(วิ่ง)ได้,
วันที่ผลิต(สัปดาห์/ปีคศ.),
และข้อความเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆ
ตัวอย่างเช่น P235/75 R15
105S DOT 0500
P
หมายถึง
ถูกออกแบบให้ใช้กับรถยนต์นั่ง
(passenger car)
235 หมายถึง
หน้ากว้างของยาง (section width)
ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร
75 หมายถึง
ความกว้างของแก้มยาง มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
เมื่อเทียบสัดส่วนกับหน้ากว้างของยาง
R หมายถึง
เป็นยางเรเดียล ซึ่งยางเกือบทั้งหมดเป็นยางเรเดียล
อยู่แล้ว
ในบางโอกาสอาจจะเห็นอักษรตัวอื่น
ซึ่งมีอยู่น้อยมาก เช่น D หรือ B
ซึ่งแสดงถึงว่าเป็นยางแบบ bias ply tire
(ห้ามใช้ยางแบบเรเดียล และ
bias ply tire)
ผสมกัน
15 หมายถึง
เส้นผ่าศูนย์กลางของกะทะล้อ
มีหน่วยวัดเป็นนิ้ว
105 หมายถึง
ดรรชนีน้ำหนักบรรทุก (load index)
ซึ่งกำหนด
โดยผู้ผลิตยาง
(Rubber Manufacturers
Association)
S
หมายถึง ความสามารถในการทำความเร็วสูงสุด
(Tire's maximum speed rating)
Q
ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160
กม./ชม. (99 mph)
S
ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 180
กม./ชม. (112 mph)
T
ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 190
กม./ชม. (118 mph)
H
ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 200
กม./ชม. (124 mph)
V
ความเร็วสูงสุดไม่เกิน
240 กม./ชม. (149 mph)
Z
ความเร็วสูงสุดมากกว่า 240 กม./ชม.
(149 mph)
(ข้อควรระวัง
อย่าเลือกใช้ยางที่ความสามารถในการ
ทำความเร็วต่ำกว่าที่รถรุ่นนั้นๆกำหนด
และอย่าใช้
ยางที่ความสามารถในการทำความเร็วต่างกัน
ใช้ร่วมในรถคันเดียวกัน)
0500 หมายถึง
วันที่ผลิต
-
ตัวเลขหลังตัวอักษร DOT
เป็นเลข 4 หลัก จะบอกถึงวันที่ผลิต
-
ตัวเลข 2 ตัวแรก 05
บอกถึงสัปดาห์ที่ทำการผลิต
ในที่นี้คือ สัปดาห์ที่ 5
ของปี
-
ตัวเลข 2 ตัวหลัง 00
บอกถึงปีที่ผลิต ในที่นี้คือปี
ค.ศ. 2000
การสึกของดอกยาง
- การสึกลักษณะเป็นเกล็ดปลา
เกิดจากการตั้งมุมโทไม่ได้ตาม
มาตรฐานรถ
- การสึกเฉพาะบริเวณไหล่ยางทั้งสองข้าง
เกิดจากการเติมลมยาง
อ่อนเกินไป ไม่ได้รับการสลับยางตามกำหนด
หรือเข้าโค้งโดยใช้
ความเร็วสูง
- การสึกเฉพาะบริเวณตอนกลางของยาง
เกิดจากการเติมลมยาง
มากเกินไป
หรือไม่ได้รับการสลับยางตามกำหนด
- การสึกเฉพาะบริเวณไหล่ยางด้านใดด้านหนึ่ง
เกิดจากมุม
แคมเบอร์เป็นบวกหรือลบมากเกินไป
- การสึกคล้ายฟันเลื่อย
เกิดจาก โท - อิน หรือ โท -
เอ้าท์ ผิดปกติ
- ยางหน้าหรือยางหลังสึกเร็วกว่าปกติ
-
หากยางหลังสึกไม่สม่ำเสมอ
อาจเกิดจากน้ำหนักบรรทุกไม่
เพียงพอที่เพลาหลัง
ทำให้ยางเต้น
-
หากยางหน้าสึกเร็วกว่ายางหลัง
อาจเกิดจากล้อหน้าต้องรับ
น้ำหนักมากกว่าล้อหลังเสมอ
*** ควรสลับตำแหน่งยางทั้ง 4
เส้น
เพื่อให้ยางทุกเส้น
มีอัตราการสึกเท่ากัน
- การสึกเป็นจ้ำๆรอบเส้น
อาจเกิดจากความผิดพลาดในการตั้ง
ศูนย์ล้อ
ความสึกหรอของระบบกันสะเทือน
หรือปัญหาจากระบบ
ช่วงล่าง
- การสึกคล้ายเกิดรอยแตกบนดอกยาง
เกิดจากการใช้น้ำหนัก
บรรทุกเกินไป
ใช้ความเร็วสูงขณะขับขี่
หรือการเติมลมยางไม่
สม่ำเสมอ
โดยบางครั้งเติมลมอ่อน
และบางครั้งเติมลมมาก
เกินไป
กลับไปด้านบนสุด
กลับไปหน้าที่แล้ว
|
16 /01 /44
-
ฝ่ายข้อมูลไทยฮาว.คอม
- เอกสารคู่มือรับประกันยาง
MAX auto express
หมายเหตุ -
ขับรถอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง
- อย่าออกรถและหยุดรถอย่าง
รุนแรง
- อย่าหักพวงมาลัยอย่างรุนแรง
- อย่าขับรถปีนขอบถนน
หรือขับเบียดฟุตบาธ
- ขณะขับรถ
ควรระวังหลุม
ก้อนหิน หรือสิ่งกีดขวาง
- เติมลมยางให้เหมาะสม
- ตรวจเช็คลมยางอย่างน้อย
สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- สลับยางและถ่วงล้อ
ตามระยะเวลาที่กำหนด
- สังเกตุการเปลี่ยนแปลงไป
ของยางเสมอ
เช่นมีการสึกไม่เท่ากัน
ให้รีบไปตรวจสอบที่
ศูนย์บริการ
-
รถขับเคลื่อนล้อหน้าและ
การสึกของยาง
เนื่องจากยางคู่หน้าของรถยนต์
ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนรถยนต์
การบังคับทิศทางการเลี้ยวของรถ
และการเบรคหยุดรถ ทำให้
ยางคู่หน้าจะสึกเร็วกว่ายางคู่หลัง
โดยเฉลี่ย 2-3
เท่า
การใช้รถยนต์โดยไม่สลับยาง
หรือสลับยางไม่ถูกต้อง
จะทำให้ยางทั้ง 4 เส้นสึกไม่เท่ากัน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน
ขณะขับขี่
และเกิดอาการสั่นสะท้านได้
ควรนำรถไปตรวจสอบสภาพยาง
และสลับยาง
- ยางหล่อดอก
คือยางเก่าหรือยางเปอร์เซ็นต์
ซึ่งได้ถูกใช้งานแล้ว
โดยดอกยางสึกจากสภาพการขับขี่
และถูกนำมาหล่อดอกใหม่
โดยการนำแผ่นยางมาหลอมเชื่อม
ด้วยความร้อน
บนโครงสร้างยางเก่า
อันตรายจากการใช้ยางหล่อดอก
ส่วนมากเกิดจาก
-
วิธีการหล่อดอกยางที่ไม่ได้
มาตรฐาน
-
โครงสร้างยางซึ่งเป็นยางเก่า
ถูกใช้งานมานาน
และหมดสภาพ
ก่อนที่จะถูกนำมาหลอดอกใหม่
ส่งผลให้ชั้นยางใหม่และ
เข็มขัดรัดหน้ายางไม่สมานกัน
- ยางหล่อดอกจะทำ
การถ่วงล้อ ให้สมดุลได้ยาก
และความไม่สมดุลของล้อ
จะส่งผลให้เกิดอาการ
พวงมาลัยสั่นสะท้าน
ยางสึกเร็วกว่าปกติ
และระบบช่วงล่างเสียหายได้
* รถที่ใช้ยางหล่อดอก
ไม่ควรขับเกิน
อัตราความเร็ว 130 กม./ชม.
- การตั้งศูนย์ล้อ
คือการทำให้ส่วนประกอบต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบบังคับเลี้ยว
ระบบช่วงล่างล้อและยาง
ทำงานสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
ซึ่งจะทำให้รถวิ่งตรงทาง
ไม่ถูกดึงไปทางซ้ายหรือขวา
ศูนย์ล้อที่ผิดปกติ
อาจเกิดจาก
ระบบช่วงล่าง และ
ระบบบังคับเลี้ยวสึกหรอ
หรือเกิดจากความสูงของรถ
และการกระจายน้ำหนักของรถ
ผิดจากมาตรฐานเดิม
อันเกิดจากคอล์ยสปริง
บูช
ลูกยาง ต่างๆเสื่อมสภาพ
|