thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- ทำอย่างไรดี เมื่อเป็นงูสวัด
-
อาการของโรค
-
การรักษา
-
โรคแทรกซ้อน

- เกร็ดประสบการณ์
-  

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง



ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- ก

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

 

ทำอย่างไรดี เมื่อเป็นงูสวัด

        โรคงูสวัด  เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะคนสูงอายุ
    หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง  สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส
    ชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส คือ (Varicella Zoster Virus)
    โดยการติดเชื้อครั้งแรกจะทำให้เกิดโรคสุกใส ต่อมาเมื่อมีการกำเริบ
    ของเชื้อที่หลงเหลืออยู่ในปมประสาท  จึงเกิดเป็นโรคงูสวัด

  1. งูสวัดจะพบในขณะที่ร่างกายอ่อนแอ  ดังนั้นการดูแลสุขภาพ
    ให้แข็งแรง  จึงมีความสำคัญมาก

  2. ความเชื่อที่ว่างูสวัดพันรอบตัวแล้วตาย  ไม่เป็นความจริง
    จึงไม่ต้องกังวลมากเกินไป

  3. เมี่อสงสัยว่าตนเองเป็นงูสวัด  ควรมาพบแพทย์โดยทันที

  4. การรักษาด้วยสมุนไพร หรือแพทย์แผนโบราณ  อาจมีโอกาส
    ติดเชื้อแทรกซ้อนได้  ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

  5. ปัจจุบันมียาที่สามารถฆ่าเชื้องูสวัดได้ผลดี  และรับประทาน
    สะดวก


    ข้อมูลประกอบ

  • อาการของโรค

    ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอักเสบ หรือคันบริเวณที่จะเป็นนำมาก่อน
    ร่วมกับมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย
    ต่อมาจะมีผื่นขึ้น โดยจะเป็นข้างเดียวของร่างกาย
    บริเวณผิวหนังที่เลี้ยงโดยปมประสาทนั้น
    ลักษณะผี่นจะเป็นตุ่มน้ำใสๆเป็นกลุ่มๆ หลายกลุ่มเรียงตัวกัน
    ตามแนวเส้นประสาท
    ต่อมาประมาณ 7 ถึง 10 วัน จึงจะแห้งเป็นสะเก็ด
    และหายในเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์

  • การรักษา

    โรคงูสวัดสามารถหายได้เองในเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์
    โดยให้การรักษาตามอาการของโรค และดูแลผื่นอย่างถูกต้องใน
    ผู้ป่วยสูงอายุ  ผู้มีภูมิต้านทานบกพร่อง
    ผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดบริเวณใกล้ตา  หรือผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจาย
    ของเชื้องูสวัดไปยังอวัยวะอื่น  อาจมีความจำเป็นต้องให้การรักษา
    โดยใช้ยาเฉพาะโรคเป็นพิเศษ  ซึ่งด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยควรพบแพทย์
    เพื่อพิจารณาแนวทางการรักษา  และได้รับคำแนะนำเรื่อง
    การดูแลที่ถูกต้อง  เป็นการป้องกันมิให้เกิดแผลเป็น
    จากการติดเชื้อแทรกซ้อน

  • โรคแทรกซ้อน

  1. อาการปวดจากโรคงูสวัด  โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดคงอยู่นาน
    หลังจากผื่นหายหมดแล้ว  ซึ่งในที่สุด
    อาการปวดมักจะหายได้
    ในเวลา 3 เดือนถึง 1 ปี

  2. การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบริเวณรอยโรค

  3. โรคแทรกซ้อนทางตา  ในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดบริเวณใกล้ตา
    ต้องพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจตาร่วมด้วย

  4. การแพร่กระจายของตุ่มน้ำใสออกนอกบริเวณรอยโรคที่เป็น
    หรือการแพร่กระจายสู่อวัยวะภายในอื่นๆ

   กลับไปด้านบนสุด                                                           กลับไปหน้าที่แล้ว

 16 /12 /44

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2545)
 เรียบเรียงโดย
 นายแพทย์วินิจ พงศ์ปริตร
 แพทย์หญิงกาญจนา เสริมสวรรค์
 นายแพทย์วังชัย ลีสงวนกุล
 แผนกผิวหนัง วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
 กทม.  และวชิรพยาบาล


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data      Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้