thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- ควรปฏิบัติอย่างไร
  ในระหว่างชัก
-
ลมชักเกิดจากอะไร

-
เกร็ดประสบการณ์
-  

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง



ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- ก

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

 

ข้อปฏิบัติช่วยคน ในระหว่างชัก (ลมชัก)

               ลมชัก  เป็นปรากฎการณ์ที่สมองสั่งงานมากผิดปกติ
    ขึ้นมาชั่วครู่  โดยเจ้าตัวไม่อาจควบคุมได้  เพราะมีสาเหตุบางอย่าง
    ที่ไปรบกวนการทำงานของสมอง  จึงปรากฎเป็นอาการผิดปกติขึ้นมา
    อย่างรวดเร็ว

    เมื่อพบเห็นคนเป็นลมชัก  ควรระงับความตกใจ
    และเข้าช่วยปฐมพยาบาล  ดังนี้

    ควรปฏิบัติอย่างไร  ในระหว่างชัก

  1. นำคนไข้ให้พ้นจากบริเวณที่จะเป็นอันตราย  เช่น  ไฟ
    ของมีคม  เครื่องจักรกล  หรือที่สูง

  2. ถ้ามีฟันปลอม  ให้รีบถอดออก

  3. ใช้ของนุ่มๆ  เช่น  ม้วนผ้า  ใส่ระหว่างฟัน  เพื่อป้องกันคนไข้
    กัดลิ้นตัวเอง  แต่ไม่ควรใช้ของแข็งที่อาจเป็นอันตรายต่อ
    ช่องปาก

  4. คอยป้องกันอันตราย  ถ้าคนไข้ดิ้นมาก  หรือเดินไปมา

  5. เมื่อคนไข้หมดสติไปหลังชัก  ควรให้นอนตะแคง ไม่หนุนหมอน
    แหงนคอเล็กน้อย  เพื่อกันการสำลัก  และทำให้ทางเดินหายใจ
    โล่ง

  6. ถ้ามีเสมหะหรือน้ำลายมาก  ควรใช้ลูกยางดูดทางปาก
    และจมูก

  7. หลังชักแล้ว  ควรนำส่งโรงพยาบาล  เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

  8. อย่า กรอกยาหรือน้ำเข้าปากคนไข้  ขณะกำลังชัก
    หรือไม่รู้สึกตัว  เพราะจะสำลักเข้าไปในปอดได้

  9. อย่า เอาของขลังหรือวัตถุอื่นใดให้อม

  10. อย่า ใช้ของแข็งงัดปากและฟันคนไข้
    เพราะอาจบาดเจ็บต่อเหงือกและฟัน

  11. อย่า ใช้นิ้วมือใส่ปากคนไข้ที่กำลังชัก

  12. อย่า ต่อสู้  หักบิดแขนขา  นั่งทับ  หรือกดท้อง  คนไข้ที่ชัก
    เพราะอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้

  13. อย่า ทุบตี  หยิก  จี้  หรือลวกด้วยของร้อน  เพื่อให้คนไข้ตื่น
    เพราะจะเกิดบาดแผลโดยไม่จำเป็น  และคนไข้มักจะฟื้น
    ได้เอง

  14. อย่า ทิ้งผู้ป่วยที่กำลังชักหรือหลังชักใหม่ๆ  ไว้ตามลำพัง

  15. อย่า ปล่อยคนไข้ที่ชักไม่หยุดหรือชักหลายครั้งติดต่อกัน
    ไว้ที่บ้าน


    ข้อมูลประกอบ

    ลมชักเกิดจากอะไร

  • มีแผลเป็นในสมอง  จากการคลอดยาก
    ติดเชื้อในวัยเด็ก  หรือบาดเจ็บต่อสมอง

  • มีโรคทางกาย  ได้แก่  เบาหวานที่ไม่ควบคุม  โรคตับ
    โรคไต  โรคหัวใจ

  • ได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง  ดื่มเหล้า  การขาดออกซิเจน
    หรือไข้สูงในเด็ก

  • การติดเชื้อในสมอง  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  หรือเลือดออก
    ใต้เยื่อหุ้สมอง

  • ก้อนที่ขยายโตขึ้นในสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง  เช่น
    เนื้องอก  ฝีในสมอง  พยาธิ์  เป็นต้น

  • พวกที่ไม่ทราบสาเหตุ  หรือเป็นกรรมพันธุ์  กลุ่มนี้มักมี
    คนในครอบครัวเป็น  จะเริ่มชักตั้งแต่วัยเด็กหรือหนุ่มสาว
    และเมื่อโตขึ้นอาจหายได้

 

   กลับไปด้านบนสุด                                                           กลับไปหน้าที่แล้ว

 23 /09 /45

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2538)
  นายแพทย์ ชัยชน  โลว์เจริญกูล
  หน่วยประสาทวิทยา
  ภาควิชาอายุรศาสตร์
  คณะแพทย์ศาสตร์
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data      Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้