thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก 

หัวข้อย่อย

- อาการและอาการแสดง
- สาเหตุ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
   การดำเนินชีวิตประจำวัน
- โรคแทรกซ้อนของการไม่
  รักษาโรคความดันโลหิตสูง

-
เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

-

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้


 

 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

              ความดันโลหิต  หมายถึง  ความดันภายในหลอดเลือดแดง
    แบ่งออกเป็น 2 ชนิด  ได้แก่ ความดันซิสโตลิคหรือความดันตัวบน
    เป็นความดันโลหิตที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจทำการบีบตัว
    เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
    และความดันไดแอสโตลิคหรือความดันตัวล่าง  หรือความดันตัวล่าง
    เป็นความดันโลหิตที่วัดได้ในระหว่างหัวใจคลายตัว  ค่าปกติของ
    ความดันขณะบีบตัวจะสูงกว่าค่าความดันคลายตัว  หน่วยที่วัดเป็น
    มิลลิเมตรปรอท

  • ระดับความดันปกติ

    การวัดระดับความดันโลหิตควรวัดขณะพัก  หากเกิดอาการ
    ตื่นเต้น ตกใจ ดีใจ หรือมีการออกกำลังกาย  ค่าความดันโลหิต
    จะสูงขึ้น  และจะมีค่าต่ำลงในระหว่างการพักหรือนอนหลับ
    ระดับความดันจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  และความดันโลหิต
    จะสูงขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น  น้ำหนักมากเกินไป  ดื่มสุราหรือ
    มีอารมณ์เครียด  แต่ไม่ควรสูงกว่า 140/90 มม. ปรอท

  • ความดันโลหิตสูง

    ค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มม. ปรอท ถือว่าสูงผิดปกติ
    ถ้าความดันโลหิตสูงเกินเป็นระยะเวลานาน  จะทำให้เกิด
    ภาวะหัวใจโต  ไตเสื่อม  สมองเสื่อม  รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น
    หัวใจวาย  หลอดเลือดหัวใจตีบ  ไตวาย  หรือ  เส้นโลหิตในสมอง
    ตีบหรือแตก  ทำให้เกิดอัมพาตได้

  • อาการและอาการแสดง

    ในรายที่ความดันโลหิตสูงมากๆ  อาจมีอาการดังนี้  คือ
       - ปวดศีรษะแบบตื้อๆ
       - มีเลือดกำเดาออก
       - สับสนมึนงง
       - สูญเสียความจำ
       - อาจมีอาการสั่นเล็กน้อย
    แต่บางรายที่มีความดันโลหิตเล็กน้อย  อาจไม่มีอาการชัดเจน
    แต่ตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อน  ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา
    เป็นระยะเวลานาน  เช่น ตามัว  ไตวาย  เป็นต้น

  • สาเหตุ

  1. ส่วนใหญ่ไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน  แต่พบว่ามีความไม่สมดุล
    ของปัจจัยต่างๆในร่างกาย เช่น สารที่กระตุ้นให้เส้นเลือดตีบ

  2. ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา  เช่น
      - หลอดเลือดแดงตีบแข็ง  เนื่องจากมีสารไขมันอุดตัน
         ทำให้ขาดความยืดหยุ่น  ขนาดของรูหลอดเลือดเล็กลง
         ทำให้ความต้านทานปลายทางรวมของหลอดเลือดสูงขึ้น
      - อัตราการกรองของไตจะลดลงและปริมาณเลือดไปยังไต
         ลดลง

  3. แบบแผนการดำรงชีวิต  เช่น  อาหารที่มีไขมันและคลอเรส
    เตอรอลสูง  อาหารเค็ม  การดื่มแอลกอฮอล์  การสูบบุหรี่ซึ่ง
    จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น  และการที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
    อย่างสม่ำเสมอ

  4. จากโรคเรื้อรังอื่นๆ ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เช่นโรคโลหิตจาง
    อย่างรุนแรง  เบาหวาน  เป็นต้น

  5. จากโรคบางชนิดที่ทำให้ความดันโลหิตสูง เช่นโรคหัวใจบางชนิด
    โรคต่อมไร้ท่อ  โรคไตบางชนิด  เป็นต้น

  • ถ้าคุณมีความดันโลหิตสูง  สิ่งที่สำคัญคือ

  1. คุณควรได้รับการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต
    ให้ลดลงสู่ระดับปกติเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
    ที่เกิดตามมาจากความดันโลหิตสูง

  2. ควรได้รับการตรวจร่างกาย  เพื่อดูการไหลเวียนของเลือด

  3. ตรวจประวัติทางครอบครัว  

  4. การตรวจคลื่นหัวใจ  (EKG)  ซึ่งจากการตรวจ  
    แพทย์อาจทำการรักษาเพื่อลดความดันโลหิต

  5. เริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
    เช่นการรับประทานอาหาร,  การเลิกสูบบุหรี่
     หรือเพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

  6. อาจได้รับยาลดความดันในกรณีที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสม

 

ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร ?

  • การควบคุมการรับประทานอาหาร
    จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้โดยการการ
    - เลือกรับประทาน โดยเฉพาะผัก ผลไม้  อาหารที่มีไขมันต่ำ 
    - การลดการรับประทานอาหารรสเค็ม
      เนื่องจากการรับประทาน อาหารรสเค็มจัด
     จะทำให้เกิดการบวมน้ำ  และทำให้ปริมาณเลือดสูงขึ้น  
      ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้
    - จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์
      กับการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตได้
      ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน  มักมีความดันโลหิตสูง
      ดังนั้น  การลดน้ำหนักสามารถลดความดันโลหิตได้

  • การสูบบุหรี่
    เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่จะส่งผลต่อโรคหัวใจ
    ดังนั้นถ้าคุณหยุดสูบบุหรี่ได้  คุณจะลดความเสี่ยงของการเกิด
    ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้

  • การออกกำลังกาย  อย่างสม่ำเสมอ
    ไม่เพียงแต่จะช่วยควบคุมน้ำหนักแล้ว
    ยังสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้  ดังนั้นแพทย์อาจแนะนำ
    การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณได้


  ข้อมูลประกอบ

โรคแทรกซ้อนของการไม่ได้รักษาโรคความดันโลหิตสูง

             ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้  
    อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ดังต่อไปนี้ คือ
    หัวใจโต   ไตถูกทำลาย   เส้นโลหิตอุดตันในสมอง   หัวใจวาย
    ผนังเส้นเลือดแดงหนา  เป็นต้น

  กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 06 /08 /44

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2544)
  ฝ่ายเภสัชกรรม
  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  ถ.สุขุมวิท   กรุงเทพฯ
  www.bumrungrad.com

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2546)
  โรงพยาบาลคามิลเลียน
  ถ.สุขุมวิท ซอย55  กรุงเทพฯ
  โทร.02-3910136, 3915724


 หมายเหตุ

 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                    กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้