หน้าแรก
- การใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด
- ค่า
SPF คืออะไร ?
-
เกร็ดประสบการณ์
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง |
-
ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง |
-
อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้ |
-
|
การใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด |
ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด
(Sunscreen)
ประกอบด้วยสารที่ทำหน้าที่ดูดแสงไวโอเลตไว้
ปกป้องผิวจาก
อันตรายของแสงอาทิตย์ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจอยู่ในรูปครีม
น้ำมัน
หรือโลชั่นทาผิว หรือเป็นสารที่ทำหน้าที่ปกป้องผิว
โดยการสะท้อนแสงให้กระจายออกไปจากผิว
และบดบังรังสีแสงแดด
ซึ่งสารกลุ่มหลังนี้จะช่วยลดอาการแพ้
ที่เกิดขึ้นในบางคนได้
ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดนั้น
ค่า SPF จะเป็น
ตัวกำหนดการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์
ถ้าต้องการให้สีผิวคล้ำขึ้น
โดยไม่ต้องการให้ผิวไหม้
ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า
SPF ต่ำ
และถ้าต้องการผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันผิวจากแสงแดดอย่างสิ้นเชิง
ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF
15 ขึ้นไป เรียกว่า Sunblock
โดยสรุป
การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่เพียงพอ
จะสามารถป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้
จะป้องกันการเกิด sunburn และช่วยลดอันตรายในระยะยาวด้วย
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกผลิตภัณฑ์และค่า SPF
ที่ถูกต้องด้วย การใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด
-
เลือกผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด
ที่มีค่า SPF
ที่เหมาะสมกับความ
ต้องการ
-
ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ถ้าทาก่อน
ออกไปกลางแจ้งครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
-
ควรทาซ้ำทุก
1 - 2 ชั่วโมง
หลังจากลงว่ายน้ำ
ออกกำลังกาย
เหงื่อออกมาก
แม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะระบุว่าป้องกันน้ำได้ก็ตาม
-
ถ้าต้องการให้สีผิวคล้ำขึ้น
ควรเริ่มต้นด้วยการตากแดดชั่วระยะ
เวลาสั้นๆก่อน
แล้วตามด้วยการทาผลิตภัณฑ์กันแดด
โดยเลือกตามค่า SPF
-
ผู้ที่แพ้แสงแดด
ผิวหนังอักเสบ
ปวดแสบปวดร้อนง่าย
ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF
สูง
และไม่ตากแดดในช่วงเวลา
10 โมงเช้าไปจนถึงบ่าย 3
โมง
เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว
รังสีจากแสงแดดที่เป็นต้นเหตุ
ทำให้ผิวหนังไหม้ จะมีปริมาณสูงสุด
ข้อมูลประกอบ
ค่า
SPF คืออะไร ?
ค่า
SPF
เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด
ว่าเมื่อทาผลิตภัณฑ์นั้นแล้วจะสามารถทนต่อแสงแดดได้เป็นกี่เท่า
ของขณะที่ไม่ได้ทา ค่า SPF
มีตั้งแต่ 2
ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพ
ในการกันแดดน้อยที่สุด ไปจนถึง 15 หรือบางชนิดมีถึง SPF 50
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการแผดเผาผิวหนังสูงมาก
การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดมีค่า SPF
ต่ำจะทำให้ผิวคล้ำขึ้นมากกว่า
ชนิดที่มีค่า SPF สูง
กลับไปด้านบนสุด
กลับไปหน้าที่แล้ว
|
30 /01 /44
-
เอกสารเผยแพร่ (พ.ศ.2544)
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ถ.สุขุมวิท
กรุงเทพฯ
www.bumrungrad.com
- หยูกยาน่ารู้ / ภญ.ธิดา
นิงสานนท์
-
ฝ่ายข้อมูลไทยฮาว.คอม
|