thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- การปฏิบัติเพื่อป้องกัน
  ข้อเข่าเสื่อม
-
สาเหตุที่มีส่วนทำให้เกิด
  ข้อเข่าเสื่อม
- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

-

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้


การปฏิบัติ
เพื่อป้องกันข้อเข่าเสื่อม


  
ในปัจจุบันโรคข้อเข่าเสื่อมยัง
 ไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้
 ดังนั้นการปฏิบัติตนเพื่อป้องกัน
 ข้อเข่าเสื่อม  หรือป้องกันมิให้
 อาการกำเริบจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
 โดยปฏิบัติดังนี้

 1. ระวังอย่าให้อ้วน
     ถ้าอ้วนควรลดน้ำหนักตัว
     โดย
   + กินอาหารที่มีคุณค่า
     ครบถ้วนปริมาณพอเหมาะ
      ไม่กินจุบจิบ
   + ลดการกินอาหาร  จำพวก
      แป้ง  น้ำตาล  ไขมัน
      ของหวาน  กะทิ
      เนื้อสัตว์ติดมัน
      อาหารมันๆ  และ
      อาหารทอดชนิดต่าง
   + ควรกินผักและผลไม้ที่มี
      รสหวานน้อย เพิ่มมากขึ้น

 2. ไม่ควรนั่งในท่างอเข่า เช่น
     พับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า
     นั่งยองๆ เป็นต้น  ควรนั่ง
     บนเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งขา
     เหยียดตรง  อย่านั่งนานๆ
     ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่า เช่น
     ยกของหนักเกินกำลัง  ยืน
     หรือเดินนานๆ การขึ้นลง
     บันไดบ่อยๆหรือเล่นกีฬาที่
     หักโหม

ทำอย่างไรเมื่อปวดเข่า จากข้อเสื่อม

   ข้อเข่าเสื่อม   เป็นโรคที่มักพบในคนอายุตั้งแต่  40  ปีขึ้นไป
   พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  โรคนี้จะมีการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน
   ผิวข้อต่อ  มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่วนอื่นๆของข้อเข่า
   ทำให้เกิดอาการปวดเข่า

    อาการ

  • ปวดเข่าหรือปวดขัดในข้อ  โดยเฉพาะเวลานั่งยองๆแล้วลุกขึ้น

  • เข่าอ่อนหรือเข่าขัดตึง  เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก

  • มีเสียงดังเวลาเคลื่อนไหวข้อ

  • ถ้าเป็นมากๆหรือเรื้อรัง  เข่าจะบวมและมีน้ำขังในข้อ
    บางรายเข่าจะผิดรูปเป็นขาโก่งเหมือนก้ามปูได้

    ข้อปฏิบัติเมื่อปวดเข่า

  1. เมื่อมีอาการปวดเข่าจากข้อเสื่อม  โดยที่ไม่มีการอักเสบ  บวม
    แดง  ร้อน  ควรใช้ผ้าขนหนูบางๆห่อกระเป๋าน้ำร้อน  วางประคบ
    รอบๆเข่านานครั้งละ 15 - 30 นาที  วันละ 2 ครั้ง  เช้าและเย็น

  2. ควรพักเข่าข้างที่ปวด  หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดการปวดเข่า
    เช่น ยกของหนักๆขึ้นลงบันได  การนั่งในท่างอเข่า  ยืนหรือ
    เดินนานๆ

  3. ควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดิน  ซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักตัว
    ทำให้เดินได้มั่นคง  และเจ็บน้อยลง

  4. ไม่ควรถูนวด  ดัดข้อเข่าแรงๆ  หรือจับเส้นโดยผู้ไม่มีความรู้
    เพราะอาจทำให้ข้อเข่าอักเสบได้

  5. เมื่อเข่าหายเจ็บแล้ว  ควรฝึกออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อเข่า
    ตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

  6. ถ้าปฏิบัติดังกล่าวแล้ว  อาการปวดเข่ายังไม่ดีขึ้น  ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด  ไม่ควรซื้อยากินเอง
    โดยเฉพาะยาชุดหรือยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์  เพราะอาจ
    ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้


  ข้อมูลประกอบ

   สาเหตุที่มีส่วนทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม    ได้แก่

  • อายุมากขึ้น
  • ข้อเข่าถูกใช้รับน้ำหนักมาก  หรืออยู่ในท่าที่ถูกกดพับมากเกินไป
    เช่น  นั่งคุกเข่า  นั่งพับเพียบ  เป็นต้น
  • มีการบาดเจ็บหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อสึกกร่อน
    หรือความผิดปกติของกระดูกและข้อแต่กำเนิด

 

 

 

 

 

 

  กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 27 /12 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พ.ศ.2540)
  กองควบคุมโรค  สำนักอนามัย
   กรุงเทพมหานคร


 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้