thaihow.com        ให้หลักคิดแก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- ความดันลมยาง
- ความดันลมและการขับขี่
- การเติมลมมากเกินไป
- การเติมลมน้อยเกินไป
- ฝาวาล์วยาง
- การสลับยาง
- การอ่านข้อมูลที่แก้มยาง
-
การสึกของดอกยาง
- ขับรถอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง
- รถขับเคลื่อนล้อหน้าและ
  การสึกของยาง
- ยางหล่อดอก
- การตั้งศูนย์ล้อ
-
เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง


ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

 

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

- ยางรถยนต์
- อุปกรณ์วัดความดันลมยาง


 หมายเหตุ

- ความดันลมยาง

   ยางทุกเส้นต้องถูกเติมลมก่อน
 ใช้งาน เพื่อลดแรงกระแทก
 ระหว่างรถยนต์และพื้นถนน
 ลมยางทุกเส้นจะอ่อนลงเมื่อใช้
 งานไประยะหนึ่งจึงควรหมั่น
  เช็คและเติมลมยางสม่ำเสมอ
 ทุกเดือน
 การเติมลมยางควรเติม
 ขณะที่ยางยังเย็นอยู่
 หรือวิ่งไม่เกิน 1.5-2 กม.
 ตรวจเช็คลมยาง  ควรใช้ 
 เกจ์วัดลมที่มาตรฐาน

- ความดันลมและการขับขี่

   การเติมลมยางที่ถูกต้องตาม
 กำหนดจะทำให้ดอกยาง
 ทุกส่วนสัมผัสผิว ถนนอย่าง
 สม่ำเสมอ  ช่วยรักษายางให้
 ใช้ได้นานตลอดอายุ
 เพิ่มความนุ่มนวลและปลอดภัย
 ขณะขับขี่  และประหยัด
 ค่าน้ำมันอีกด้วย

 อนึ่ง  การเติมลมยางทั้ง 4 เส้น
 ไม่เท่ากัน อาจส่งผลให้รถยนต์
 เสียการควบคุม  เมื่อเบรกหยุด
 หรือเร่งระดับความเร็ว  ความ
 สมดุลของล้อรถเสีย ทำให้ยาง
 สึกไม่เรียบ

- การเติมลมมากเกินไป

     ทำให้หน้ายางเกาะถนนได้
 ไม่เต็มที่ เกิดการกระเทือนมาก
 กว่าปกติ  เนื่องจากความ
 ยืดหยุ่นของยางลดลง  ทำให้
 โครงสร้างยางเสียหาย  เนื่อง
 จากผ้าใบตึงเครียด ยางถูกบาด
 ง่าย  และดอกยางตอนกลาง
 สึกเร็วกว่าด้านข้างทั้งสอง

- การเติมลมน้อยเกินไป

  ทำให้แก้มยางมีการยืดและหด
 ตัวมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของ
 การเกิดความร้อนสูงมากทำให้
 ยางร่อน หรือผ้าใบหักง่าย 
 และดอกยางด้านข้างทั้งสอง 
 สึกเร็วกว่าตอนกลาง

- ฝาวาล์วยาง

  ควรปิดฝาวาล์วยาง (จุ๊บลม)
 ให้สนิทตลอดเวลา เพื่อป้องกัน
  เศษดิน  ฝุ่น และความชื้น
 ซึมเข้าไปในยาง และป้องกัน
 ลมซึมออกทางวาล์วซึ่งจะก่อ
 ให้เกิดผลเสียต่ออายุการ
 ใช้งานของยางได้

- การสลับยาง

  การสลับยางเพื่อให้ยางทุกเส้น
 มีการสึกที่เท่ากัน  โดยปกติรถ
ทุกคันควรสลับยางทุก 10,000
 กิโลเมตร  หากยางเกิดการสึก
 ที่ไม่สม่ำเสมอ  ควรเข้ารับการ
 ตรวจเช็คศูนย์ล้อ  ความสมดุล
 ของล้อ ตลอดจนระบบช่วงล่าง
 ทันที

เลือกยางรถยนต์

       การเปลี่ยนยางใหม่เปรียบเสมือนการซื้อรถใหม่  เพราะยางก็เป็น
 ส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความปลอดภัย ในการขับเคลื่อนรถยนต์  ยางเป็น
 ส่วนเดียวของรถยนต์ที่สัมผัสกับพื้นถนน  ไม่ว่าสภาพถนนเปียก  แห้ง
 ทางเรียบ  หรือขรุขระ  ยางเป็นส่วนที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลากับทุก
 สภาพถนน  การเลือกยางรถยนต์จึงต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม

  1. เลือกขนาดยาง(section width) และกะทะล้อ (tire's sidewall)
    ให้ถูกตรงตามที่กำหนดโดยโรงงานผู้ผลิตรถยนต์

  2. เลือกยางที่รหัสความเร็ว (Speed Ratings) และน้ำหนักบรรทุก
    (load carrying capacity) ที่เหมาะสมกับรถ

  3. อายุยางต้องไม่เก่าเก็บ  ผลิตมาไม่นานมากเกินไป
    เช่นไม่เกิน 6 เดือน

  4. ถ่วงล้อทั้ง 4 ล้อทุกครั้งที่เปลี่ยนยาง

  5. ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจตั้งศูนย์ล้อ 4 ล้อ ด้วย

  6. ใส่เปลี่ยนยางโดยช่างผู้มีความชำนาญและความละเอียด
    มีอุปกรณ์ครบ


 ข้อมูลประกอบ

 การอ่านข้อมูลที่แก้มยาง

       ที่แก้มของยางรถยนต์จะบอกขนาดของยาง, ผู้ผลิต, รุ่น,
  อัตราสูงสุดของการเติมลม,   ความสามารถในการรับน้ำหนัก,
  ความเร็วสูงสุดที่สามารถรับ(วิ่ง)ได้,   วันที่ผลิต(สัปดาห์/ปีคศ.), 
  และข้อความเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆ

  ตัวอย่างเช่น  P235/75 R15 105S        DOT  0500
   P       หมายถึง  ถูกออกแบบให้ใช้กับรถยนต์นั่ง (passenger car)
   235   หมายถึง  หน้ากว้างของยาง (section width)  
                             ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร
   75     หมายถึง  ความกว้างของแก้มยาง  มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
                        เมื่อเทียบสัดส่วนกับหน้ากว้างของยาง
   R      หมายถึง  เป็นยางเรเดียล ซึ่งยางเกือบทั้งหมดเป็นยางเรเดียล
                           อยู่แล้ว  ในบางโอกาสอาจจะเห็นอักษรตัวอื่น 
                           ซึ่งมีอยู่น้อยมาก  เช่น D  หรือ B 
                           ซึ่งแสดงถึงว่าเป็นยางแบบ bias ply tire
                           (ห้ามใช้ยางแบบเรเดียล และ bias ply tire)
                            ผสมกัน
   15     หมายถึง  เส้นผ่าศูนย์กลางของกะทะล้อ  มีหน่วยวัดเป็นนิ้ว
   105   หมายถึง  ดรรชนีน้ำหนักบรรทุก (load index) ซึ่งกำหนด
                        โดยผู้ผลิตยาง  (Rubber Manufacturers 
                                                Association)
   S       หมายถึง  ความสามารถในการทำความเร็วสูงสุด
                               (Tire's maximum speed rating)

                Q   ความเร็วสูงสุดไม่เกิน  160 กม./ชม.  (99 mph)
                S   ความเร็วสูงสุดไม่เกิน  180 กม./ชม.  (112 mph)
                T    ความเร็วสูงสุดไม่เกิน  190 กม./ชม. (118 mph)
                H   ความเร็วสูงสุดไม่เกิน  200 กม./ชม.  (124 mph)
                V   ความเร็วสูงสุดไม่เกิน   240 กม./ชม. (149 mph)
                Z   ความเร็วสูงสุดมากกว่า 240 กม./ชม.  (149 mph)
                     (ข้อควรระวัง  อย่าเลือกใช้ยางที่ความสามารถในการ
                     ทำความเร็วต่ำกว่าที่รถรุ่นนั้นๆกำหนด  และอย่าใช้
                     ยางที่ความสามารถในการทำความเร็วต่างกัน
                     ใช้ร่วมในรถคันเดียวกัน)
   0500  หมายถึง  วันที่ผลิต
          - ตัวเลขหลังตัวอักษร DOT เป็นเลข 4 หลัก จะบอกถึงวันที่ผลิต
          - ตัวเลข 2 ตัวแรก 05  บอกถึงสัปดาห์ที่ทำการผลิต  
            ในที่นี้คือ สัปดาห์ที่ 5 ของปี
          - ตัวเลข 2 ตัวหลัง 00 บอกถึงปีที่ผลิต  ในที่นี้คือปี ค.ศ. 2000


 การสึกของดอกยาง

  • การสึกลักษณะเป็นเกล็ดปลา  เกิดจากการตั้งมุมโทไม่ได้ตาม
    มาตรฐานรถ
  • การสึกเฉพาะบริเวณไหล่ยางทั้งสองข้าง  เกิดจากการเติมลมยาง
    อ่อนเกินไป ไม่ได้รับการสลับยางตามกำหนด  หรือเข้าโค้งโดยใช้
    ความเร็วสูง
  • การสึกเฉพาะบริเวณตอนกลางของยาง  เกิดจากการเติมลมยาง
    มากเกินไป  หรือไม่ได้รับการสลับยางตามกำหนด
  • การสึกเฉพาะบริเวณไหล่ยางด้านใดด้านหนึ่ง  เกิดจากมุม
    แคมเบอร์เป็นบวกหรือลบมากเกินไป
  • การสึกคล้ายฟันเลื่อย  เกิดจาก โท - อิน หรือ โท - เอ้าท์ ผิดปกติ
  • ยางหน้าหรือยางหลังสึกเร็วกว่าปกติ
     - หากยางหลังสึกไม่สม่ำเสมอ  อาจเกิดจากน้ำหนักบรรทุกไม่
       เพียงพอที่เพลาหลัง  ทำให้ยางเต้น
     - หากยางหน้าสึกเร็วกว่ายางหลัง  อาจเกิดจากล้อหน้าต้องรับ
       น้ำหนักมากกว่าล้อหลังเสมอ
     *** ควรสลับตำแหน่งยางทั้ง 4 เส้น  เพื่อให้ยางทุกเส้น
          มีอัตราการสึกเท่ากัน
  • การสึกเป็นจ้ำๆรอบเส้น  อาจเกิดจากความผิดพลาดในการตั้ง
    ศูนย์ล้อ  ความสึกหรอของระบบกันสะเทือน  หรือปัญหาจากระบบ
    ช่วงล่าง
  • การสึกคล้ายเกิดรอยแตกบนดอกยาง  เกิดจากการใช้น้ำหนัก
    บรรทุกเกินไป  ใช้ความเร็วสูงขณะขับขี่  หรือการเติมลมยางไม่
    สม่ำเสมอ  โดยบางครั้งเติมลมอ่อน  และบางครั้งเติมลมมาก
    เกินไป

 

 

 

   กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 16 /01 /44

แหล่งข้อมูล

- ฝ่ายข้อมูลไทยฮาว.คอม
- เอกสารคู่มือรับประกันยาง
  MAX  auto express


 หมายเหต

- ขับรถอย่างไรเพื่อยืดอายุยาง

  • อย่าออกรถและหยุดรถอย่าง
    รุนแรง
  • อย่าหักพวงมาลัยอย่างรุนแรง
  • อย่าขับรถปีนขอบถนน
    หรือขับเบียดฟุตบาธ
  • ขณะขับรถ  ควรระวังหลุม
    ก้อนหิน หรือสิ่งกีดขวาง
  • เติมลมยางให้เหมาะสม
  • ตรวจเช็คลมยางอย่างน้อย
    สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • สลับยางและถ่วงล้อ
    ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • สังเกตุการเปลี่ยนแปลงไป
    ของยางเสมอ
    เช่นมีการสึกไม่เท่ากัน
    ให้รีบไปตรวจสอบที่
    ศูนย์บริการ

- รถขับเคลื่อนล้อหน้าและ
   การสึกของยาง

   เนื่องจากยางคู่หน้าของรถยนต์
  ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
  เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนรถยนต์
  การบังคับทิศทางการเลี้ยวของรถ
  และการเบรคหยุดรถ ทำให้
  ยางคู่หน้าจะสึกเร็วกว่ายางคู่หลัง
  โดยเฉลี่ย 2-3 เท่า
  การใช้รถยนต์โดยไม่สลับยาง
  หรือสลับยางไม่ถูกต้อง
  จะทำให้ยางทั้ง 4 เส้นสึกไม่เท่ากัน
  ซึ่งอาจก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน
  ขณะขับขี่
  และเกิดอาการสั่นสะท้านได้
  ควรนำรถไปตรวจสอบสภาพยาง
  และสลับยาง


- ยางหล่อดอก
     คือยางเก่าหรือยางเปอร์เซ็นต์
  ซึ่งได้ถูกใช้งานแล้ว
  โดยดอกยางสึกจากสภาพการขับขี่
  และถูกนำมาหล่อดอกใหม่
  โดยการนำแผ่นยางมาหลอมเชื่อม
  ด้วยความร้อน บนโครงสร้างยางเก่า

 อันตรายจากการใช้ยางหล่อดอก
 ส่วนมากเกิดจาก
     - วิธีการหล่อดอกยางที่ไม่ได้
        มาตรฐาน
     - โครงสร้างยางซึ่งเป็นยางเก่า
       ถูกใช้งานมานาน
          และหมดสภาพ
       ก่อนที่จะถูกนำมาหลอดอกใหม่
       ส่งผลให้ชั้นยางใหม่และ
          เข็มขัดรัดหน้ายางไม่สมานกัน
     - ยางหล่อดอกจะทำ
         การถ่วงล้อ ให้สมดุลได้ยาก
       และความไม่สมดุลของล้อ
         จะส่งผลให้เกิดอาการ
       พวงมาลัยสั่นสะท้าน
         ยางสึกเร็วกว่าปกติ
         และระบบช่วงล่างเสียหายได้

   * รถที่ใช้ยางหล่อดอก
       ไม่ควรขับเกิน
      อัตราความเร็ว 130 กม./ชม.


- การตั้งศูนย์ล้อ
    คือการทำให้ส่วนประกอบต่างๆ
  ที่เกี่ยวข้องกับระบบบังคับเลี้ยว
  ระบบช่วงล่างล้อและยาง
  ทำงานสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
  ซึ่งจะทำให้รถวิ่งตรงทาง
  ไม่ถูกดึงไปทางซ้ายหรือขวา
     ศูนย์ล้อที่ผิดปกติ  อาจเกิดจาก
  ระบบช่วงล่าง และ
  ระบบบังคับเลี้ยวสึกหรอ
  หรือเกิดจากความสูงของรถ
  และการกระจายน้ำหนักของรถ
  ผิดจากมาตรฐานเดิม
  อันเกิดจากคอล์ยสปริง  บูช
  ลูกยาง  ต่างๆเสื่อมสภาพ


 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้