thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- การแพ้ท้อง
- ตกขาวมากกว่าปกติ
- ท้องผูก
- ตะคริว
- แสบร้อนบริเวณเหนือลิ้นปี่

- เกร็ดประสบการณ์
-  

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง



ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- ก

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

 

5 การเปลี่ยนแปลง+ข้อแนะนำขณะตั้งครรภ์

  1. การแพ้ท้อง

            
    มักเกิดขึ้นภายใน 5-10 สัปดาห์  หลังการตั้งครรภ์
    และจะหายไปเมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 16  คุณแม่จะมีอาการ
    คลื่นไส้  อาเจียน  เวียนศีรษะ  และมีน้ำลายมากกว่าปกติ
    ซึ่งมักเป็นตอนเช้าหรือหลังตื่นนอนใหม่ๆ  คุณแม่ควรจิบ
    เครื่องดื่มอุ่นๆ  เช่นน้ำผลไม้  น้ำขิง  และนอนสักพัก  แล้วค่อย
    ลุกขึ้น  ควรรับประทานอาหารย่อยง่าย  หลีกเลี่ยงอาหารที่มี
    ไขมันมาก  เช่นอาหารทอด หรือ อาหารที่มีกลิ่น  และพักผ่อน
    ให้เพียงพอ

  2. ตกขาวมากกว่าปกติ

                 ช่วงนี้มีเลือดหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดและมดลูก
    มากกว่าเดิม  ประกอบกับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่เพิ่มขึ้น
    ทำให้มีตกขาวมากกว่าระยะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์  ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
    คุณแม่เพียงแต่ระวังไม่ให้เกิดการอักเสบเท่านั้น  โดยหมั่น
    อาบน้ำทำความสะอาด  ไม่ล้างเข้าไปในช่องคลอด  เพราะจะ
    ยิ่งทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้น  แต่ถ้ารู้สึกคัน  ตกขาวมีกลิ่น
    ผิดปกติหรือรู้สึกแสบ  ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้  ควรปรึกษาแพทย์
    ทันที

  3. ท้องผูก

                  เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
    ทำให้การหดรัดตัวของลำไส้ลดลง  หรือการที่มดลูกไปกดลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทวารหนัก  และการ
    ขาดการออกกำลังกาย รวมทั้งการรับประทานผลไม้ที่มีกากน้อย
    ดื่มน้ำน้อยจึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคท้องผูก  ดังนั้นจึงควร
    ออกกำลังกายแต่เพียงพอ  รัปประทานผัก  ผลไม้  ดื่มน้ำมากๆ
    และถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา

  4. ตะคริว

                  เกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
    มักเป็นตอนกลางคืนหลังจากที่คุณแม่เดินมาก  ยืนนานๆ
    นั่งห้อยเท้าท่าเดียวตลอดวัน  ทำให้เลือดมาคั่งบริเวณน่อง
    ทำให้เกิดอาการปวด  คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้
    โดยการดัดปลายเท้าให้งอขึ้น  เพื่อให้กล้ามเนื้อน่องยืดตัว
    ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น  เวลานอนให้หาหมอนรองเท้า
    และให้น่องสูงกว่าระดับตัวเล็กน้อย  รวมทั้งดื่มนมให้มาก
    เพื่อเพิ่มแคลเซี่ยม

  5. แสบร้อนบริเวณเหนือลิ้นปี่

                     อาการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 6 ขึ้นไป  เนื่องจาก
    การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง  มีน้ำย่อย
    ซึ่งเป็นกรดคั่งค้างในกระเพาะอาหารมากขึ้น  มดลูกขยายตัว
    มาดันกระเพาะอาหาร  ทำให้น้ำย่อยเข้ามาท่วมท้นในหลอด
    อาหาร  จึงเกิดอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่  เมื่อเกิดอาการ
    ดังกล่าว  คุณแม่ไม่ควรนอนราบ  เพราะจะทำให้กรดใน
    กระเพาะท่วมเข้ามาในหลอดอาหารมากขึ้น  แต่ควรใช้หมอน
    หนุนศีรษะและลำตัวให้สูง

   กลับไปด้านบนสุด                                                           กลับไปหน้าที่แล้ว

 08 /07 /46

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2546)
  โรงพยาบาลคามิลเลียน
  ถ.สุขุมวิท ซอย55  กรุงเทพฯ
  โทร.02-3910136, 3915724


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data      Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้