thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- การรักษา
- สาเหตุ
- อาการ
- ข้อสังเกตุ
- การปฏิบัติตัว
- ข้อควรระวัง

- เกร็ดประสบการณ์
-  

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง



ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

- ก

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

 

การรักษาโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน

          โรคสะเก็ดเงิน  (PSORIASIS)  เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง
    มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน  และมีขุยสีขาวเป็นมันคล้ายสีเงิน
    เกิดจากมีจำนวนเซลล์มากผิดปกติที่ผิวหนัง  ตามปกติเซลล์ผิวหนัง
    จะใช้เวลาในการเติบโตตั้งแต่เป็นเซลล์อ่อนจนโตเต็มที่ประมาณ
    28 วัน  แต่ในสะเก็ดเงินมีอัตราการเติบโตของเซลล์ผิดปกติโดย
    ใช้เวลาเพียง 4 วันเท่านั้น ทำให้บริเวณนั้นมีผิวหนากว่าปกติ

  1. รักษาสุขภาพของร่างกาย

  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนเพียงพอ

  4. อยู่ในที่อากาศสดชื่น

  5. หลีกเลี่ยงแสงแดดที่ร้อนจัดเกินไป

  6. รักษาความสะอาดของร่างกายสม่ำเสมอ

  7. ป้องกันการติดเชื้อ เช่น เป็นหวัด  เจ็บคอ

  8. ไม่เครียด

  9. ป้องกันการบาดเจ็บที่ผิวหนังเนื่องจากมีบาดแผล
    หรือรอยขีดข่วนทำให้โรคกำเริบ


    ข้อมูลประกอบ

  1. เป็นโรคทางพันธุกรรม  คนในครอบครัวเดียวกัน
    อาจเป็นเหมือนกัน  แต่มีอาการมากน้อยไม่เท่ากัน

  2. ไม่ใช่โรคติดต่อ

  3. ไม่ใช่โรคเชื้อรา

  1. เป็นผื่นที่ผิวหนัง มีลักษณะนูนแดงเป็นวงๆขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง
    อาจเป็นวงกว้างรูปร่างไม่แน่นอน  คล้ายรูปแผนที่
    และมีสะเก็ดปกคลุม  เมื่อขูดสะเก็ดออกจะร่วงเป็นขุย
    และอาจมีจุดเลือดออกเล็กๆที่ผิว  มักเป็นบริเวณข้อ
    เช่น ข้อศอก  หัวเข่า  ข้อนิ้วมือ
    บริเวณสันกระดูก เช่นหน้าผาก หน้าแข้ง ฝ่ามือฝ่าเท้า หนังศีรษะ
    และบริเวณที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ เช่นหลังเท้า  ข้อเท้า
    อาการอาจเป็นมากบ้างน้อยบ้าง  แตกต่างกันในแต่ละบุคคล
    บางคนเป็นแค่ 2-3 จุด  บางคนอาจลุกลามไปทั่วทั้งตัว
    ที่ศีรษะเป็นรังแคบางๆหรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อมๆ

  2. เล็บผิดปกติ  เล็บล่อนไม่ติดกับผิว  หรือหนาขรุขระเปื่อยยุ่ย
    สีเปลี่ยนแปลง  หรือเล็บกร่อนจนไม่เหลือเล็บดี  ลักษณะคล้าย
    กับเป็นเชื้อราที่เล็บ

  3. อาจมีอาการปวดข้อและข้อพิการได้

          โรคนี้อาจเป็นน้อยหรือมากไม่เท่ากันในแต่ละคน
          บางคนเป็นผื่นราบ  บางคนเป็นผื่นหนา  บางคนเป็นแห่งเดียว
          บางคนเป็นหลายแห่ง  บางคนเป็นบริเวณกว้าง
          บางคนเป็นเฉพาะที่ศีรษะ มือ เท้า แขน ขา หรือเล็บ
          มีคนจำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเชื้อรา  หรือโรคภูมิแพ้
          ทำให้การรักษาไม่ถูกต้อง

  1. หลักการรักษาคือ รักษาตามอาการที่เป็น

  2. ที่ผิวหนังใช้ยาทาเฉพาะที่  ได้แก่ครีมหรือขี้ผึ้งผสมคอร์ติโคส-
    เตียรอยด์  โคลทาร์  กรดซาลิซิลิกหรือแอนทราลิน

  3. ที่ศีรษะใช้แชมพูสระผมผสมโคลทาร์  ก่อนสระหมักผมด้วย
    ด้วยน้ำมัน เช่น น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอกทิ้งไว้ค้างคืน
    อาจใช้โลชั่นผสมกรดซาลิซิลิกหรือสารละลายขุยนวดศีรษะ
    เพื่อช่วยให้รังแคหลุดลอกออก

  4. ที่เล็บใช้ยาทา  ยาฉีด หรือยารับประทาน  ไม่ควรถอดเล็บ

  5. ให้ตากแดดหรือฉายแสงอัลตราไวโอเลต

  6. ยารับประทาน  ใช้เฉพาะรายที่มีอาการรุนแรงตามความจำเป็น
    เช่น โซลาเรน (ใช้ร่วมกับการฉายแสง) เรตินอยด์  หรือ
    เมทโทเทรกเสท

  7. แพทย์จะเลือกใช้ยาและวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่
    ละราย  โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้ยาด้วย

         ถึงแม้โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ไม่หายขาด  แต่จะมีช่วงเวลาที่มี
    อาการดีขึ้นเป็นระยะ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ภายหลัง
    การรักษาที่ถูกต้องอาจหายไปนานเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้

  1. ยาต้ม  ยาหม้อ  ที่มีส่วนผสมสารหนู  อาจทำให้สะเก็ดเงิน
    หายดีชั่วคราว  แต่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง  และทำให้เกิด
    มะเร็งผิวหนังในเวลาต่อมา

  2. ยาแผนปัจจุบันหลายชนิดใช้ได้ผลดี  แต่ต้องระวังฤทธิ์ข้างเคียง

   กลับไปด้านบนสุด                                                           กลับไปหน้าที่แล้ว

 16 /12 /45

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พ.ศ.2545)
  พญ. ปรียา กุลละวณิชย์
  สถาบันโรคผิวหนัง
  กรมการแพทย์  ก. สาธารณสุข


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data      Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้