thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก 

หัวข้อย่อย

ปวดเฉียบพลันหรือตกหมอน
-
ปวดเรื้อรัง
-
สาเหตุของอาการปวดคอ
-
การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง


อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

บรรเทาอาการปวดคอ ด้วยตนเอง

          คอของคุณ   เมื่อมีความผิดปกติหรือได้รับบาดเจ็บ
   หรือถูกใช้ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกจังหวะ จะทำให้เกิดอาการปวดคอ

    การบรรเทาอาการปวดคอด้วยตนเอง

    บรรเทาปวดจากการปวดเฉียบพลัน หรือ ตกหมอน

    จะมีอาการปวดคอ หรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน
    หลังการเอี้ยวบิดคอผิดท่า หรือตกหมอน

  1. พยายามพักผ่อนให้มากๆ   โดยการนอนราบชั่วคราว
    เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก

  2. รับประทานยา   เพื่อบรรเทาอาการปวด

  3. ประคบด้วยความเย็น
    ภายใน 24 ชั่งโมงแรกหลังจากมีอาการปวด
    ด้วยถุงผ้าห่อน้ำแข็ง 10 - 15 นาที

  4. ประคบด้วยความร้อน
    หลังจากมีอาการมาแล้ว 24 ชั่วโมง
    ด้วยถุงน้ำร้อน หรือผ้าชุบน้ำอุ่น 15 - 20 นาที

  5. ดัดยึดคอด้วยตนเอง
    โดยใช้มือประสานกัน  ดันศรีษะไปในทิศทางที่หันไม่ได้ช้าๆ
    จนรู้สึกตึงเล็กน้อย  ค้างไว้ประมาณ 30 วินาที
    ทำชุดละ 3 - 4 ครั้ง    วันละ 3 ชุด

      หมายเหตุ    ไม่ควรนวดหรือจับเส้นในระยะปวดเฉียบพลัน
                         เพราะจะทำให้อักเสบ  ปวดมาก  และเรื้อรังได้
                         ถ้ายังไม่หาย  ค่อยๆฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อ
                         หรือปรึกษานักกายภาพบำบัด

บรรเทาปวดจากอาการปวดเรื้อรัง

       มักมีอาการปวดไม่รุนแรง  เป็นๆ หายๆ
       เคลื่อนไหวคอไม่ได้เต็มที่  ปวดเมื่อยหลังทำงาน

  1. รับประทานยา   เพื่อบรรเทาอาการปวด

  2. ประคบด้วยความร้อน
    ด้วยถุงน้ำร้อน หรือผ้าชุบน้ำอุ่น 15 - 20 นาที

  3. ออกกำลังกล้ามเนื้อคออย่างสม่ำเสมอ

  4. หากมีจุดปวดที่กล้ามเนื้อ  ให้กดและคลึงบริเวณที่ปวด
    พร้อมกับยืดกล้ามเนื้อ  และหลีกเลี่ยงท่าใช้งาน
    ที่ทำให้เกิดการปวด

  5. ควรพบแพทย์และนักกายภาพบำบัด
    เพื่อรับการรักษาทางกายภาพบำบัด


   ข้อมูลประกอบ

   สาเหตุของอาการปวดคอ

  • อิริยาบทที่ผิดสุขลักษณะ
    กล้ามเนื้อคอจะทำงานมากเกินไป
    เช่นการก้ม  หรือเงยหน้านานๆ,   การหนุนหมอนสูงเกินไป
    การนอนคอพับบิดไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • ความเครียดทางจิตใจ
    ทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็งมากและนาน
  • กระดูกคอเสื่อม
    มีปุ่มกระดูกงอกที่ข้อต่อคอ  ทำให้มีการปวดร้าวไปท้ายทอย
    หัวไหล่  แขน   อาจมีอาการชา  หรือกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรงได้
  • ข้ออักเสบ
    มีการปวดรุนแรง  และเป็นเรื้อรัง
  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ
    มีปวดคอ  หรือปวดร้าวหรือชาลงไปตามแขนและมือ

 

  กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 24 /07 /44

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พศ.2544)
  โรงพยาบาลคามิเลี่ยน
  ถ.สุขุมวิท ซอย 55  กรุงเทพฯ
  โทร. 02-3910136


  หมายเหตุ

  การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ

   ก. เพื่อให้คอเคลื่อนไหวได้ดี
       ท่าละ 5 - 10  ครั้ง
        วันละ 2 - 3  เวลา

  • ก้มและเงยหน้า
    ค่อยๆก้มและเงยหน้า
    ให้คางจรดอก  แล้วเงยหน้า
    ช้าๆ ให้ได้มากที่สุด
  • เอียงคอ ซ้ายและขวา
    หน้าตรง  ค่อยๆเอียงศรีษะ
    ไปทางซ้าย  ให้หูซ้ายจรด
    ไหล่ซ้าย  โดยไม่ยกไหล่ซ้าย
    ขึ้น  และค่อยเอียงศรีษะไป
    ทางขวาในลักษณะเดียวกัน
  • หันหน้าซ้ายและขวา
    หน้าตรง ค่อยๆหันหน้าไป
    ทางซ้าย  ให้คางอยู่ในแนว
    เดียวกับไหล่ซ้าย
    หมุนศรีษะกลับมาทางขวา
    และทำในลักษณะเดียวกัน

    ข. เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของ
         กล้ามเนื้อคอ
        ทุกท่าเกร็งค้างไว้ 3 วินาที
         แล้วพัก
         ทำท่าละ 5 - 10  ครั้ง
         วันละ 2 - 3  เวลา

  • ก้มคอ
    วางมือไว้ที่หน้าผาก
    ออกแรงต้านกับแรงที่
    พยายามจะก้มหน้าลง
  • เงยหน้า
    ประสานมือไว้เหนือท้ายทอย
    ออกแรงต้านกับแรงที่จะ
    พยายามไปทางด้านหลัง
  • เอียงคอซ้ายและขวา
    มือซ้ายวางที่ด้านข้างของ
    ศรีษะเหนือหูซ้าย
    ออกแรงต้านกับความพยายาม
    ที่จะเอียงคอมาทางซ้าย
    ทำสลับกันโดยใช้มือขวาต้าน
    การเอียงคอด้านขวา
  • หันหน้าซ้ายและขวา
    มือซ้ายวางบริเวณด้านหน้า
    เยื้องมาทางด้านข้างเหนือ
    คิ้วซ้าย   ออกแรงต้านขณะที่
    พยายามหันหน้าไปทางซ้าย
    ทำสลับกันโดยใช้มือขวา
    ต้านการหันหน้าไปทางขวา

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                    กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้