thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

-

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

- ฝาตุ่ม
- ผ้า หรือตาข่ายไนล่อน
  พลาสติค
- เกลือแกง หรือผงซักฟอก
  หรือน้ำส้มสายชู
- ปลาหางนกยูง
- กระดาษนุ่มๆ
- ทราย

การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำ

   ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำในบ้านและโรงเรียน
    เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

  1. ปิดฝาตุ่มให้มิดชิด 2 ชั้น  ชั้นในรัดรอบปากตุ่มด้วยผ้าหรือตาข่าย
    ไนล่อนหรือพลาสติค  เมื่อเติมน้ำหรือตักน้ำต้องรีบปิดให้มิดชิด

  2. จานรองขาตู้กันมด  ใส่เกลือแกงหรือผงซักฟอก 1/2 ช้อนชา
    หรือน้ำส้มสายชู 2 ช้อนชา  และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกเดือน

  3. ดัดแปลงยางรถยนต์ให้เป็นของใช้  หรือปกปิดให้มิดชิด
    ไม่ให้น้ำขัง

  4. ใส่ปลาหางนกยูง 2 - 4 ตัว  ลงในตุ่มน้ำหรือที่เก็บน้ำใช้ที่ปิดฝา
    ไม่ได้

  5. เปลี่ยนน้ำในขวดหรือแจกันหรือใช้กระดาษนิ่มๆ  พันรอบปาก
    แจกัน  เพื่อป้องกันยุงลงไปวางไข่

  6. ใส่ทรายในจานรองกระถางต้นไม้ 3 ใน 4 ของความลึกของจาน
    ทรายจะถูกสับน้ำส่วนเกิน  ป้องกันมิให้มีน้ำขังได้

  7. เก็บทำลายภาชนะที่ไม่ใช้ประโยชน์  เพื่อป้องกันน้ำขัง


  ข้อมูลประกอบ

    จะป้องกันอย่างไร  ไม่ให้เป็นไข้เลือดออก

  • ระวังอย่าให้ยุงกัดเด็กตอนกลางวัน
     - ให้เด็กนอนในมุ้ง
     - อย่าให้เด็กอยู่ในบริเวณที่มืดหรืออับแสง
     - ใช้ยากันยุง
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
     - ไม่ให้มีลูกน้ำอยู่ในน้ำ

 

  กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 26 /12 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พ.ศ.2542)
  กองควบุคมโรค  สำนักอนามัย
  กรุงเทพมหานคร


 หมายเหตุ

 ทำอย่างไรถ้าสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

  ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  ไม่ควรให้ยาลดไข้เอง
   ถ้าจำเป็นควรใช้ยาพาราเซตามอน
   ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน
   เพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
   และรีบพาไปรักษาที่ศูนย์บริการ
   สาธารณสุขหรือโรงพยาบาล

 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้