thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

- สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.
   โทร. 1556
   ครั้งละ 3 บาท  ทั่วประเทศ

 

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

 

 

 

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

 

 

 

เลือกอาหารพร้อมปรุง

   

  1. สังเกตฉลาก จะต้องมีรายละเอียดแสดงครบถ้วน  อ่านได้ชัดเจน
    (รายละเอียดของฉลากดูในหัวข้อ  ข้อมูลประกอบ)
  2. ควรเลือกซื้ออาหารพร้อมปรุงจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้
  3. เลือกซื้อจากห้างสรรพสินค้า  หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เชื่อถือได้
  4. ก่อนซื้อควรสังเกตเนื้อสัตว์  ผัก  และเครื่องปรุง  ต้องใหม่สด และไม่มีกลิ่น
  5. ตรวจดูเนื้อสัตว์  ต้องไม่มีสีเขียวคล้ำ  และผักที่บรรจุไว้ต้อง
    ไม่เหี่ยวหรือแก่
  6. ภาชนะที่ใช้บรรจุต้องสะอาด  เรียบร้อย  และไม่มีรอยฉีกขาด
  7. ตรวจดูลักษณะการผนึก  ต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย  ไม่มีรอย
    เปิดผนึก  หรือฉีกขาด

 ข้อมูลประกอบ

  • อาหารพร้อมปรุง  หมายถึง  อาหารที่ได้จัดเตรียมส่วนประกอบ
    ต่างๆ  บรรจุไว้ในภาชนะที่พร้อมจำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค
    เพื่อนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ
    เช่น  แกงส้มผักกระเฉดกับกุ้ง  ซึ่งในภาชนะบรรจุจะมี
    ผักกระเฉด  กุ้ง  และน้ำแกงส้มหรือเครื่องแกงส้ม  เป็นต้น
  • การแสดงฉลากอาหารพร้อมปรุง อย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียด
    ดังนี้
     1. ชื่ออาหาร ให้ใช้ชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังนี้
          - ชื่อเฉพาะของอาหาร  หรือชื่อที่ใช้เรียกอาหารตามปกติ
            หรือชื่ออาหารเมื่อปรุงเสร็จแล้ว
          - ชื่อทางการค้า  จะต้องมีชื่อเฉพาะของอาหารกำกับชื่อทาง
            การค้าด้วย โดยจะอยู่บรรทัดเดียวกัน หรือต่างบรรทัดก็ได้
            แต่ต้องมองเห็นได้ชัดเจน
      2. เครื่องหมายตามที่สนง.คณะกรรมการอาหารและยากำหนด
          คือ      อย 
    จ-พป-2/2540      หรือ  อย  จ-พป-ชม-5/2540
          โดยอักษรย่อมีความหมายดังนี้
                  จ          =    จดแจ้ง
                  พป       =     อาหารพร้อมปรุง
                  2, 5      =    ลำดับที่ของการจดแจ้งในแต่ละปี
                  2540   =     ปี  พ.ศ.  ที่จดแจ้ง
                  ชม       =     จังหวัดเชียงใหม่
            ถ้าเป็นการจดแจ้งในต่างจังหวัดนั้นๆด้วย
            เช่น  อย  
    จ-พป-ชม-5/2540      เป็นต้น
       3. ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิตหรือแบ่งบรรจุหรือจัดจำหน่าย
            หรือชื่อและที่ตั้งของสนง.ใหญ่ของผู้ผลิต  หรือผู้แบ่งบรรจุ
            เพื่อจำหน่าย  หรือผู้จัดจำหน่าย  แล้วแต่กรณี
       4. ต้องแสดงวัน  เดือน  และปีที่ผลิต  หรือวันเดือนและปีที่
            หมดอายุ  หรือวัน  เดือน  และปีที่อาหาร  ยังมีคุณภาพ
            มาตรฐานดี  โดยมีข้อความว่า  "ผลิต"  หรือ  "หมดอายุ"
            หรือ  "ควรบริโภคก่อน"  กำกับไว้ด้วยแล้วแต่กรณี
        5. แสดงข้อความว่า  "ใช้วัตถุกันเสีย"  ถ้ามีการใช้
        6. คำแนะนำในการเก็บรักษา  (ถ้ามี)
        7. ข้อความ  รูป  ภาพ  รอยประดิษฐ์ ที่แสดงบนฉลากต้องไม่
             เป็นเท็จหรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
            หรือไม่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ

 

   กลับไปด้านบนสุด                                                            กลับไปหน้าที่แล้ว

 7 /03 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (พค./พศ.2540)
  สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
  กระทรวงสาธารณสุข
  โทร. 5918472-4


 

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้