thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

- สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.
  โทร. 1556
   ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง

 

 

 

อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

 

 

 

 

 

เลือกน้ำแร่ ในภาชนะบรรจุปิดสนิท

 

  1. สังเกตลักษณะของน้ำแร่  จะต้องใส  ไม่มีสี  ไม่มีตะกอน

  2. ภาชนะบรรจุที่มีฝาหรือจุกปิด  จะต้องมีผนึกโดยรอบระหว่างฝา
    หรือจุกกับตัวภาชนะบรรจุ  หรืออาจเป็นภาชนะที่ปิดผนึกอื่นๆ

  • ฉลากจะต้องมีลักษณะถาวร ปรากฎให้เห็นชัดเจนที่ภาชนะบรรจุ
    มิใช่ฝาของภาชนะบรรจุ  ฉลากต้องแสดงถึง
    - ชื่อของน้ำแร่  แสดงแหล่งที่มาของน้ำแร่ตามธรรมชาติ
    - ชนิดของแร่ธาตุที่สำคัญ  เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม โซเดียม
       โปแตสเซี่ยม คลอไรด์ ซัลเฟต และไบคาร์บอเนต เป็นต้น
    - ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต
    - เลขทะเบียนตำรับอาหาร  หรือเครื่องหมายได้รับอนุญาต
      ให้ใช้ฉลาก  แล้วแต่กรณี
    อย
    สนร 7/2537        หมายถึง น้ำแร่ที่นำเข้ามาเพื่อจำหน่าย
                                   ได้รับอนุญาตเลขทะเบียนตำรับอาหาร
                                   เมื่อปี  2537  เป็นลำดับที่ 7
    อย
    ฉผนร 52/2537   หมายถึง น้ำแร่ที่ผลิตหรือแบ่งบรรจุจาก
                                   สถานที่ผลิตที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
                                   ได้รับอนุญาตเลขทะเบียนตำรับอาหาร
                                   เมื่อปี  2537  เป็นลำดับที่ 52
    อย
    ผนร 15/2537     หมายถึง น้ำแร่ที่ผลิตภายในประเทศ
                                  จากสถานที่ผลิตที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
                                   ได้รับอนุญาตเลขทะเบียนตำรับอาหาร
                                   เมื่อปี  2537  เป็นลำดับที่ 15
    - แสดงเดือนปีที่ผลิต  หรือวันเดือนปีหมดอายุ หรือ
      ควรบริโภคก่อนโดยมีคำว่า  "ผลิต"  "หมดอายุ"  
      หรือ  "ควรบริโภค"  กำกับด้วยแล้วแต่กรณี  เช่น
      ผลิต  0.30              หมายถึง  ผลิตเมื่อเดือนมค. 2530
      หมดอายุ 010435  หมายถึง  หมดอายุวันที่ 1 เมย. 2535
    - ปริมาตรสุทธิเป็นระบบเมตริก เช่น ปริมาตรสุทธิ1,000 ลบ.ซม.
    - คำเตือนซึ่งมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
      เห็นได้ชัดเจนในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง  พื้นขาว  ดังนี้
           "เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน"  สำหรับน้ำแร่ที่มี
             ปริมาณของแข็งละลายมากกว่า  500  มิลลิกรัม
             ต่อน้ำแร่  1  ลิตร
           "อาจมีฤทธิ์ถ่ายท้อง"  สำหรับน้ำแร่ที่มีปริมาณซัลเฟตสูง
             (ยกเว้นแคลเซียมซัลเฟต)  มากกว่า  600  มิลลิกรัม
             ต่อน้ำแร่  1  ลิตร
            "มีสภาพเป็นด่าง"  สำหรับน้ำแร่ที่มีปริมาณไบคาร์บอเนต
             มากกว่า  600  มิลลิกรัม  ต่อน้ำแร่  1  ลิตร
            "มีสภาพเป็นกรด"    สำหรับน้ำแร่ที่มีปริมาณคาร์บอนได
             ออกไซด์อิสระ มากกว่า 250 มิลลิกรัม ต่อน้ำแร่ 1  ลิตร
            "มีเกลือสูง"    สำหรับน้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดี่ยมคลอไรด์
              มากกว่า  1,000 มิลลิกรัม  ต่อน้ำแร่ 1  ลิตร
            "มีธาตุเหล็กสูง"    สำหรับน้ำแร่ที่มีปริมาณเหล็ก
             มากกว่า  5 มิลลิกรัม  ต่อน้ำแร่ 1  ลิตร
             "มีไอโอดีนสูง"   สำหรับน้ำแร่ที่มีปริมาณไอโอดีน
              มากกว่า  1 มิลลิกรัม  ต่อน้ำแร่ 1  ลิตร
             "อาจมีผลทำให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ"  สำหรับน้ำแร่ที่มี
               ปริมาณของแข็งละลาย  มากกว่า  1,000  มิลลิกรัม
               ต่อน้ำแร่ 1  ลิตร
  • ถ้าผ่านกรรมวิธีผสมฟลูออไรด์ หรือเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  
    หรือก๊าซโอโซน  ต้องระบุไว้ในฉลากด้วย


   กลับไปด้านบนสุด                                                            กลับไปหน้าที่แล้ว

 1 /03 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่
  สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
  กระทรวงสาธารณสุข
  โทร. 5918472-4

 


 หมายเหต

  • "น้ำแร่" หมายถึง น้ำแร่ตาม
    ธรรมชาติที่ได้จากแหล่งน้ำที่
    เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    และมีแร่ธาตุผสมอยู่  เป็น
    คุณสมบัติสำหรับแหล่งน้ำ
    นั้นๆ  ซึ่งน้ำแร่ต้องไม่ผ่าน
    กรรมวิธีทางเคมี  หรือวิธีอื่น
    ที่จะทำให้คุณสมบัติทางเคมี
    ของน้ำแร่นั้นต่างไปจาก
    น้ำแร่ธรรมชาติ
  • แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายนั้น
    เราจะได้รับจากการรับประ
    ทานอาหารประจำวันอยู่แล้ว
    หากคุณรับประทานอาหาร
    ครบหลัก 5 หมู่  ก็
    ไม่จำเป็นต้องไป

    หาซื้อน้ำแร่มาบริโภค

  ข้อควรระวัง

  • น้ำแร่มีแร่ธาติหลายชนิดเป็น
    ส่วนประกอบ  ถ้าร่างกายได้
    รับในปริมาณที่สูงเกินไป
    ก็อาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย
    โดยเฉพาะเด็ก  สตรีมีครรภ์
    ผู้สูงอายุ  ผู้ป่วยโรคตับ ไต
    และผู้มีความดันโลหิตสูง
    ควรระมัดระวังในการบริโภค

 

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

 Home     About us     Suggest new data     Our sponsor                                                                                   กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้