thaihow.com        ให้หลักเกณฑ์แก่คุณเพื่อการตัดสินใจ          ไทยฮาว.คอม

 

 

 


หน้าแรก

หัวข้อย่อย

- เกร็ดประสบการณ์ 

แหล่งข้อมูลอื่นๆ
ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

- สายด่วนผู้บริโภคกับ อย.
  โทร. 1556
   ครั้งละ 3 บาท ทั่วประเทศ

 

ข้อมูลไทยฮาวอื่นๆ
ที่มีหัวข้อใกล้เคียง


อุปกรณ์ประกอบ
เพื่อการนี้

เลือกอาหารกระป๋อง

  1. ควรซื้อจากผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้  และพิจารณาเปรียบเทียบ
    ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน  แต่ต่างผู้ผลิตในด้านคุณภาพ
    และราคา  จะช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าสมราคา

  2. สังเกตฉลาก  จะต้องมีรายละเอียดครบถ้วนเป็นภาษาไทย
    อ่านได้ชัดเจน  แสดง
      -  ประเภทอาหาร  เช่น  ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ,
         ลำใยในน้ำเชื่อม
      -  เลขทะเบียนตำรับอาหาร
      อย/ ผก../......  สำหรับอาหารกระป๋องที่ผลิตในประเทศไทย
      อย/ สก../......   สำหรับอาหารกระป๋องที่นำเข้าจากต่างประเทศ
      -  ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต
      -  เดือนและปีที่ผลิต หรือ วัน เดือน ปี ที่อาหารกระป๋องหมดอายุ
      -  น้ำหนักสุทธิหรือปริมาตรสุทธิ  และน้ำหนักเนื้ออาหารเป็น
         ระบบเมตริก
      -  ชื่อและปริมาณวัตถุเจือปนในอาหาร

  3. ลักษณะกระป๋องจะต้องไม่บวม  เมื่อเปิดกระป๋องจะต้องไม่มี
    ลมดันออกมา  เพราะการบวม  หรือลมที่ดันออกมาอาจเกิดจาก
    จุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สดันกระป๋อง  หรือเกิดจากปฏิกิริยาของ
    กระป๋องกับกรดในอาหาร

  4. กระป๋องต้องไม่บุบ บู้บี้ ตะเข็บต้องไม่มีรอยรั่ว เพราะเชื้อจุลินทรีย์
    อาจเข้าไปได้  หรืออาจทำให้สารเคลือบด้านในของกระป๋องลอก
    หลุด  โลหะบางชนิดละลายปนมากับอาหารได้

  5. กระป๋องต้องไม่เป็นสนิม  เพราะสนิมที่จับอยู่ภายนอกอาจผุกร่อน
    ไปถึงด้านใน  เป็นเหตุให้กระป๋องรั่วได้


 ข้อมูลประกอบ

  • การเก็บรักษาอาหารกระป๋องที่ซื้อมาแล้ว  ควรเก็บในที่แห้งและสะอาด  ไม่ร้อนจัดเกินไป  
    เพื่อช่วยให้สามารถเก็บรักษาอาหารกระป๋องให้มีคุณภาพดี
    อยู่ได้นานๆ  หรือจนถึงวันหมดอายุ
  • ไม่ควรบริโภคอาหารกระป๋องที่เก็บไว้นานเกินไป
    เพราะอาจมีปริมาณของโลหะบางชนิดจากภาชนะบรรจุ 
    คือตัวกระป๋องและฝา  ละลายลงสู่อาหารในระดับที่สูง
    เกินมาตรฐานกำหนด   และอาจทำให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้
  • เมื่อจะรับประทาน  ให้ถ่ายอาหารใส่ภาชนะอื่น
    สังเกตด้านในกระป๋อง  ถ้ามีรอยถูกกัดกร่อน 
    ไม่ควรบริโภคอาหารนั้น  เพราะอาจได้รับอันตรายจากโลหะ
    ที่หลุดลอกออกมา
    สังเกตดูลักษณะ สี กลิ่น ของอาหาร  ถ้าผิดปกติไม่ควรบริโภค
  • หลังจากสังเกตดูลักษณะต่างๆว่าไม่ผิดปกติแล้ว
    ถ้าเป็นอาหารคาวให้ถ่ายใส่ภาชนะหุงต้ม  และนำไปอุ่นให้เดือด
    นานประมาณ  5-10  นาที  เพื่อความปลอดภัย
    และช่วยให้อาหารน่ารับประทานยิ่งขึ้น
  • อาหารกระป๋องภายหลังการเปิดรับประทานแล้ว  ถ้ารับประทาน
    ไม่หมด ก็อาจเก็บไว้รับประทานในคราวต่อไป โดยถ่ายใส่ภาชนะ
    ที่สะอาด  มีฝาปิดมิดชิด  เก็บไว้ในตู้เย็น
    แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป

 

 

   กลับไปด้านบนสุด                                                             กลับไปหน้าที่แล้ว

 1 /03 /43

แหล่งข้อมูล

- เอกสารเผยแพร่  (มิย./พศ.2542)
  สนง.คณะกรรมการอาหารและยา
  กระทรวงสาธารณสุข
  โทร. 5918472-4


 หมายเหตุ

  • อาหารกระป๋องผ่านการให้
    ความร้อนสูงและทำให้
    อาหารสุก   จึงทำให้สาร
    อาหารที่สำคัญ  เช่น
    โปรตีน  ย่อยง่ายขึ้น และยังเป็นการทำลาย
    สารพิษในธรรมชาติ
    ซึ่งมีอยู่ในอาหารบางอย่าง เช่น  สารทำลายวิตามินบี 1
    ในปลา
      
    การให้อาหารผ่านความ
    ร้อนสูงในการฆ่าเชื้อ  ก็สามารถทำให้อาหาร  เสียคุณค่าทางโภชนาการ
    ได้ไม่น้อย  เช่น  การรวมตัว
    ของกรดอะมิโนที่สำคัญ
    บางตัว  ทำให้ร่างกาย
    ไม่สามารถดูดซึม
    และนำสารนั้นไปใช้ได้
    วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี และ ซี
    ก็ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน

    จะเห็นได้ว่าการรับประทาน
    อาหารกระป๋องเป็นประจำ  ก็อาจทำให้ไม่ได้รับอาหาร
    ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
    ครบถ้วน  จึงควรเลือก
    รับประทานอาหารสดด้วย
    ให้สม่ำเสมอ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    ผักและผลไม้สด
  • อาหารกระป๋องที่ผลิตขี้น
    อย่างถูกต้องมาตรฐาน
    จะสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิ
    ปกติประมาณ 1-3 ปี
    หลังจากวันที่ผลิต

    การเก็บอาหารกระป๋องไว้ใน
    ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 C
    ก็จะทำให้เกิดการเน่าเสีย
    ของอาหารได้

 

เกร็ดประสบการณ์


 ข้อมูลจาก
 ร

 

Home     About us     Suggest new data      Our sponsor                                                                                    กรุณาใช้วิจารณญาณในการนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้